"มังงะ" (ญี่ปุ่น: 漫画 manga )
"มังงะ" (ญี่ปุ่น: 漫画 manga ) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรี ยก "การ์ตูนช่อง" "มังงะ" พัฒนามาจาก "อุคิโยเอะ" และ "จิตรกรรมตะวันตก" และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู ่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงคร ามโลกครั้งที่สอง
"มังงะ" ที่ได้รับความนิยมสูงมักถูก นำไปสร้างเป็น "อะนิเมะ" เนื้อหาของ "มังงะ" เหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่ อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทา งโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสน ิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น
คำว่า "มังงะ" แปลตรงตัวว่า “ภาพตามอารมณ์” ถูกใช้อย่างกว้างขวางเป็นคร ั้งแรกหลังจากจิตรกรอุคิโยเ อะชื่อ "โฮคุไซ" ตีพิมพ์หนังสือชื่อ "โฮคุไซมังงะ" ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดีนักประวัติศาสตร ์บางกลุ่มเห็นว่า "มังงะ" อาจมีประวัติยาวนานกว่านั้น โดยมีหลักฐานคือ "ภาพจิกะ" (แปลตรงตัวว่า “ภาพตลก”) ซึ่งเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 12 มีลักษณะหลายประการคล้ายคลึ งกับ "มังงะ" ในปัจจุบัน อาทิ การเน้นเนื้อเรื่อง และการใช้เส้นที่เรียบง่ายแ ต่สละสลวย เป็นต้น
"มังงะ" พัฒนามาจากการผสมผสานศิลปะก ารวาดภาพแบบ "อุคิโยเอะ" กับ "จิตรกรรมตะวันตก" ความพยายามของญี่ปุ่นที่จะพ ัฒนาตัวเองให้ทันกับมหาอำนา จตะวันตกในช่วงปลายศตวรรษที ่ 19 ผลักดันให้ญี่ปุ่นนำเข้าวัฒ นธรรมตะวันตกหลายๆ รูปแบบ รวมทั้งการจ้างศิลปินตะวันต กมาสอนศิลปินญี่ปุ่นเกี่ยวก ับองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลป ะ เช่น เส้น รูปทรง และสี ซึ่งการวาดภาพแบบ "อุคิโยเอะ" ไม่ให้ความสำคัญเนื่องจากคิ ดว่าความรู้สึกโดยรวมของภาพ สำคัญกว่า อย่างไรก็ดี "มังงะ" ที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุ บันเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร ่างในช่วงหลังสงครามโลกครั้ งที่สองหลังจากที่รัฐบาลญี่ ปุ่นถูกสหรัฐอเมริกาบังคับใ ห้เปิดเสรีภาพแก่สื่อมวลชน
ในศตวรรษที่ 21 คำว่า "มังงะ" เปลี่ยนความหมายเดิมมาหมายถ ึง "หนังสือการ์ตูน" อย่างไรก็ดีคนญี่ปุ่นมักใช้ คำนี้เรียก "หนังสือการ์ตูนสำหรับเด็ก" ส่วน "หนังสือการ์ตูนทั่วไป" ใช้คำว่า コミックス (คอมิกส์) ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ของ comics ในภาษาอังกฤษ ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ "มังงะ" (manga) ถูกใช้เรียกหนังสือการ์ตูนจ ากประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยการใช้คำว่า "มังงะ" ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
"มังงะ" มีความสำคัญวัฒนธรรมญี่ปุ่น และได้รับการยอมรับจากคนญี่ ปุ่นว่าเป็นวิจิตรศิลป์และว รรณกรรมรูปแบบหนึ่ง "มังงะ" ในปัจจุบันถูกวิพากษ์วิจารณ ์จากกลุ่มอนุรักษนิยมทั้งใน ญี่ปุ่นและต่างประเทศอย่างก ว้างขวางว่ามีความรุนแรงและ เนื้อหาทางเพศปะปนอยู่มาก อย่างไรก็ดี ประเทศญี่ปุ่นก็ยังไม่มีกฎห มายจัดระเบียบ "มังงะ" เว้นแต่กฎหมายคลุมเครือฉบับ หนึ่งที่กล่าวทำนองว่า “ห้ามผู้ใดจัดจำหน่ายสื่อที ่ขัดต่อความดีงามของสังคมจน เกินไป” เท่านั้น "นักวาดการ์ตูนในญี่ปุ่นจีง มีเสรีภาพที่จะเขียนมังงะที ่มีเนื้อหาทุกแนวสำหรับผู้อ ่านทุกกลุ่ม"
ลักษณะเฉพาะตัวของ "มังงะ"
รูปใน "มังงะ" ส่วนใหญ่จะเน้น "เส้น" มากกว่า "รูปทรง" และ "การให้แสงเงา" การจัดช่องภาพจะไม่ตายตัวเห มือนการ์ตูนสี่ช่อง หรือการ์ตูนช่องในหนังสือพิ มพ์ การอ่าน "มังงะ" จะอ่านจากขวาไปซ้ายตามวิธีเ ขียนหนังสือแบบดั้งเดิมของญ ี่ปุ่น เป็นที่น่าสังเกตว่าตัวละคร ใน "มังงะ" มักจะดูเหมือนคนตะวันตก หรือไม่ก็มีนัยน์ตาขนาดใหญ่ "ความใหญ่ของตา กลายมาเป็นลักษณะเด่นของมัง งะและอะนิเมะ" ตั้งแต่ยุคปี 1960 เมื่อ "โอซามุ เทซุกะ" ผู้เขียนเรื่อง "แอสโตรบอย" ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาของมังงะ" ในปัจจุบัน เริ่มวาดตาของตัวละครแบบนั้ น โดยเอาแบบมาจากตัวการ์ตูนขอ งดิสนีย์ อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่านักเขียนการ์ตูนทุ กคนจะวาดตัวละครให้มีตาใหญ่ เสมอไป "มังงะ" นั้นจะถูกแยกจาก "comic" อย่างเด่นชัดเพราะเป็นการเข ียนเทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์ (cinematic style) โดย "ผู้เขียนจะทำการเขียนภาพระ ยะไกลระใกล้ระยะประชิด เปลี่ยนมุมมองและตัดต่อเนื้ อหาเรื่องราวอย่างฉับไวโดยใ ช้เส้น speed เพิ่มความเร็ว"
ภาพ/ข้อมูล เรียบเรียงจากอินเตอร์เน็ต
"มังงะ" ที่ได้รับความนิยมสูงมักถูก
คำว่า "มังงะ" แปลตรงตัวว่า “ภาพตามอารมณ์” ถูกใช้อย่างกว้างขวางเป็นคร
"มังงะ" พัฒนามาจากการผสมผสานศิลปะก
ในศตวรรษที่ 21 คำว่า "มังงะ" เปลี่ยนความหมายเดิมมาหมายถ
"มังงะ" มีความสำคัญวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ลักษณะเฉพาะตัวของ "มังงะ"
รูปใน "มังงะ" ส่วนใหญ่จะเน้น "เส้น" มากกว่า "รูปทรง" และ "การให้แสงเงา" การจัดช่องภาพจะไม่ตายตัวเห
ภาพ/ข้อมูล เรียบเรียงจากอินเตอร์เน็ต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น