บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม 22, 2020

พระนฤตยะ คณปติ (Nritya Gannapati)

รูปภาพ
พระนฤตยะ คณปติ (Nritya Gannapati) ปางนาฏศิลป์ เทพเจ้าแห่งลีลาการร่ายรำ และศิลปะการแสดง "โอม ศรี นฤตยะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีเหลืองทอง มี 4 กร เป็นนักเต้น ร่ายรำ ระบำฟ้อน เป็นนักแสดงที่สร้างความบันเทิง และความสุขให้กับชาวโลก ประทับยืนเข่าขวาเหยียบบนดอกบัว เหมาะสำหรับตั้งบูชาในวิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงเรียนสอนเต้นรำ บัลเล่ต์ โยคะดัดตน โรงเรียนสอนการแสดง โรงละคร โรงถ่ายทำภาพยนตร์ และสถานบันเทิงต่างๆ ตามความเหมาะสม หรือผู้ที่อยู่ในสายงานด้านนาฏศิลป์ ด้านศิลปะการแสดงต่างๆ ควรบูชา ภาพวาดโดย : พงศ์ประนาฏต เพ็ชรัตนกูล เทคนิค : สีน้ำบนกระดาษ ขนาด : 26 X 36 ซม.

พระเจ้าเก้าตื้อ : พระพุทธรูปสำคัญของล้านนา

รูปภาพ
พระเจ้าเก้าตื้อ หรือ  “พระเจ้าสิริทรงธรรม จักรพรรดิราช”   เป็นพระพุทธรูปสำคัญของล้านนา กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุด และงดงามที่สุดในศิลปะล้านนา ประดิษฐานในอุโบสถ วัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 3.89 เมตร ศิลปะล้านนาอิทธิพลสุโขทัย (พ.ศ. 2047) หรือที่เรียกกันว่า “ศิลปะเชียงแสนสิงห์สอง” ประทับบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระโอษฐ์อมยิ้ม ริมฝีพระโอษฐ์เป็นคลื่นเหมือนศิลปะสุโขทัยพระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก หน้าตักกว้าง ลักษณะสังฆะฏิเป็นแผ่นใหญ่ และยาวจรดพระนาภี อาจบ่งบอกถึงรูปแบบศิลปะอยุธยาที่ผสมผสานในพระพุทธรูปด้วย ประวัติพระเจ้าเก้าตื้อ ปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า พระเมืองแก้ว หรือ พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พ.ศ. 2038 – 2068) โปรดให้สร้างพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ เพื่อจะนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร โดยเริ่มทำการหล่อในวันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีชวดฉอศก จุลศักราช