กิจกรรมวาดภาพลงบนกำแพง "ละอ่อนฮอมแฮง แป๋งเมืองหละปูน" ตอนที่ 1

เป็นกิจกรรมดีๆ อีกกิจกรรมหนึ่ง ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2-3 มีนาคม 2562 ของกองการศึกษาเทศบาลลำพูน ที่ผมได้มีบทบาทเข้าไปเป็น "หัวโป่" (วิทยากร) และกำหนดแนวทางกิจกรรมให้กับเด็กๆ ในเขตพื้นที่เทศบาลลำพูน กับ "โครงการบ้านหลังเรียน" (ละอ่อนฮอมแฮง แป๋งเมืองหละปูน) โดยคอนเซปท์ของกิจกรรมนี้ก็คือ ได้พาเด็กๆ ไปเรียนรู้สถานที่สำคัญต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ของลำพูน จากนั้นก็มาร่วมเวิร์คช็อปกันให้ห้อง พร้อมทั้งร่วมออกแบบภาพ และลงมือปฏิบัติวาดภาพบนกำแพงที่กำหนดเอาไว้ โดยความคิดของเด็กๆ และฝีมือของเด็กๆ ชาวลำพูน

เริ่มต้นในเช้าวันที่ 2 มีนาคม 2563 ณ เทศบาลเมืองลำพูน เด็กๆ ได้ทะยอยพากันมาลงทะเบียน




กล่าวเปิดโครงการ โดย นายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองลำพูน


เด็กๆ (บางส่วน) ที่ได้เข้าร่วมโครงการในวันนั้น





ต่อจากนั้น ผมก็ได้บรรยายเชิงปฏิบัติการให้กับเด็กๆ ในหัวข้อ "พื้นฐานการวาดภาพในแบบต่างๆ" เช่นเรียนรู้พื้นฐานการวาดภาพ การสร้างแรงบันดาลใจ  เทคนิคการร่างภาพ  การจัดองค์ประกอบต่างๆ ของภาพเพื่อให้น่าสนใจ  และเทคนิคการสร้างสรรค์ศิลปะบนกำแพง




เหนื่อยนักก็พักก่อน เต็มที่สำหรับอาหาร และเครื่องดื่มให้กับเด็กๆ





หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเป็นการนั่งรถรางชมเมือง ตามจุดต่างๆ ที่เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองลำพูน เพื่อทำการศึกษา เรียนรู้ และสเก๊ตซ์ภาพสถานที่นั้นๆ โดยกองการท่องเที่ยว เทศบาลเมืองลำพูน


จุดแรกก็คือ บริเวณ "วัดสันป่ายางหลวง"







จุดต่อมาก็เป็นบริเวณ "กู่ช้าง-กู่ม้า"


จุดต่อมา ก็เป็น "สะพานดำ" ลำพูน


จุดต่อมาก็เป็น "สถานีรถไฟ ลำพูน"







จุดต่อมา เป็นบริเวณ "ศาลเจ้าพ่อ 7 เมือง"


"ประตูท่านาง"


"วัดธงสัจจะ"



"ศาลเจ้าพ่อเตโค"



"พิพิธภัณฑ์ปั๊มน้ำมันสามทหาร ลำพูน"


"พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง ลำพูน" จุดสุดท้ายของวันนี้ ที่เด็กๆ จะได้เรียน เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดออกมาเป็นภาพสเก๊ตซ์



จากนั้น เด็กๆ ทุกคนก็กลับมาที่ห้องอีกครั้ง เพื่อทำการแบ่งกลุ่มการทำงานสำหรับวันรุ่งขึ้น แม้ว่าวันนี้ อากาศจะค่อนข้างร้อน แต่เด็กๆ แต่ละคนก็ใจสู้ ไม่ได้หวั่นไหวต่ออากาศ ทุกคนตั้งใจเรียนรู้ สเก๊ตซ์ภาพ และทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีมากเลยทีเดียว

เมื่อพักผ่อน ดื่มน้ำ และอาหารว่างช่วงบ่ายแล้ว เราก็เริ่มแบ่งกลุ่ม โดยมีเด็กเล็ก และเด็กโต รวมไปถึงต่างโรงเรียน คละกันไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนคติ การเรียนรู้ และสร้างมิตรภาพ รวมไปถึงการทำงานกลุ่มที่ต้องทำร่วมกัน โดยต่างเพศ ต่างวัย ต่างโรงเรียน


โดยกลุ่มนี้ ผมได้แบ่งเป็น 5 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มจะรับผิดชอบ 2 สถานที่ ด้วยการนำสถานที่เหล่านั้น มาออกแบบให้อยู่ในภาพเดียวกัน ตามหลักของทัศนศิลป์ ที่ได้เรียนรู้ไปเมื่อตอนเช้า แม้ว่าจะเป็นของใหม่สำหรับเด็กๆ ซึ่งไม่เคยเรียนรู้ และเจอโจทย์ยากๆ อย่างนี้มาก่อน แต่เด็กๆ ทุกคนตั้งใจ และร่วมมือกันสร้างสรรค์เป็นอย่างดี




เด็กโตก็จะดูแล และสอนน้องๆ ในการทำงาน ซึ่งน้องๆ ก็ได้เรียนรู้วิธีการสร้างสรรค์จากพวกพี่ๆ อีกด้วย ซึ่งวิธีการ "พี่สอนน้อง" นี้ ผมพยายามที่จะทำให้เกิดขึ้นมาอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ถ้าหากเกิดขึ้นอย่างนั้น สิ่งเล็กๆ ที่ได้จากการเรียนรู้นี้ก็คือ ความร่วมมือร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียว ความสามัคคี การแสดงความคิดเห็น และเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ระหว่างเด็กๆ การแบ่งปันองค์ความรู้ที่มีจากพี่ไปสู่น้อง และการเคารพให้เกียรติรุ่นพี่ที่อาวุโสกว่า เพราะหากเด็กๆ ได้เรียนรู้ในจุดนี้อย่างถ่องแท้ นั่นก็จะเป็นพื้นฐานในการนำพาความสุข สงบไปสู่สังคม




เด็กๆ ใช้เวลากันอยู่พักใหญ่ๆ ก็ได้ภาพสเก๊ตซ์ออกมาได้ถูกใจผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนที่เป็นคณะกรรมการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

ผลงานสเก็ตซ์ไอเดีย ของเด็กๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้






หลังจากที่เด็กๆ ได้นำเสนอผลงานแล้ว ผมก็ได้ทำการชี้แจง ถึงวิธีการปฏิบัติ เตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์ สำหรับในวันพรุ่งนี้อย่างไรบ้าง เพื่อที่พวกเค้าจะได้เตรียมตัวมาบ้างในระดับหนึ่ง แม้ว่าหน้างานอาจจะเปลี่ยนไป และไม่ได้เป็นอย่างที่ผมบรรยายให้เด็กๆ ฟังไปแล้วในช่วงเช้า

กิจกรรมของวันแรกก็ได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ผู้ปกครองต่างพากันทะยอยมารับลูกหลานที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้ง แล้วพบกันใหม่ในตอนที่ 2 การวาดภาพบนกำแพงในวันรุ่งขึ้น

เรื่อง : ครูช้าง พงศ์ประนาฏต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มารู้จักภาพทัศนียภาพ - Perspective

การวาดภาพทิวทัศน์ (Landscape)

การวาดภาพทิวทัศน์แบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถวาดได้