บทความ

ศิลปะกับความคิดของมนุษย์

รูปภาพ
"สมอง" เป็นอะไรที่น่าทึ่งมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ เพราะทำให้เราต่างไปจากสัตว์ มีการพัฒนาความคิดตั้งแต่เด็กไปจนโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และขบวนการทางความคิดนั้นต้องเริ่มพัฒนากันมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ซึ่งในเบื้องต้นกระบวนการความคิดที่จะกล่าวคือ กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล (Reasoning Thingking) และ กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thingking) "กระบวนการทางความคิดอย่างมีเหตุผล" นั้นได้มาจากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และภาษา เพราะกระบวนการของวิชาเหล่านี้จะเกี้ยวข้องกับการหาเหตุผล สรุปสิ่งที่หาได้จากเหตุผลเป็นผลลัพธ์ วิชาเหล่านี้จึงจำเป็นสำหรับสนุษย์ในแง่ของการนำทักษะของกระบวนการคิดนี้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน  แต่มี ข้อเสียก็คือ ถ้าเด็กได้รับการพัฒนากระบวนการคิดแบบนี้มากเกินไป เด็กจะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว มักคิดแต่เรื่องผลประโยชน์ เรื่องของการแพ้ชนะ มากกว่าที่จะมีน้ำใจให้กับผู้อื่น ส่วน " กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์" เป็นการผสมผสานจินตนาการเข้าเหตุผล จนเกิดเป็นความคิดใหม่ อันเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และสังคม ซึ่งการพัฒ...

ศิลปะกับพัฒนาการของเด็ก

รูปภาพ
ศิลปะจัดเป็นภาษาของมนุษย์ในอีกลักษณะหนึ่งด้วยเหตุที่ศิลปะสามารถเป็นสื่อโยงความคิดความเข้าใจต่อกันของมวลมนุษย์ได้ ศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกทางภาษา การแสดงออกทางศิลปะมักจะแตกต่างกันออกไป ตามแนวจินตนาการและการสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล นักจิตวิทยาส่วนมากเชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวและประจำตัว สำหรับเด็กซึ่งจะพัฒนาการไปได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและโอกาสที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กจะจัดสรรส่งเสริมให้ ความคิดสร้างสรรค์นี้จะส่งผลสะท้อนถึงเด็กในหลาย ๆ ด้าน เช่น ระดับความเชื่อมั่นในตนเอง การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและสติปัญญา การแสดงออกเหล่านี้เราพอจะมองเห็นได้จากการวาดภาพระบายสี การปั้น เป็นต้น วิคเตอร์โลเวนเฟลด์ (Victor Lowenfeld) นักจิตวิทยาการศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้างานทางด้านศิลปะของเด็ก และการคิดสร้างสรรค์จากงานทางศิลปะ โดยให้เด็กแสดงออกทุกอย่าง ๆ อิสระเขาทดลองกับเด็กที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง อายุตั้งแต่ 2 ขวบครึ่งขึ้นไป ให้เด็กวาดภาพด้วยสีเทียนจะสีอะไรก็ได้ พบว่าเด็กมีพัฒนาการในการวาดขีดเขี่ยเป็น 4 ขั้นด้วยกัน 1. ขั้นขีดเขี่ย (Scr...

เทคนิควิธีการสอนและการปฏิบัติตนที่ดีสำหรับคุณครู

รูปภาพ
เทคนิควิธีการสอนและการปฏิบัติตนที่ดีสำหรับคุณครู มีดังนี้   1. ให้ความรักแก่นักเรียน  พร้อมๆไปกับเนื้อหาวิชาเรียน ครูควรแนะนำวิธีเรียนรู้ให้แก่เด็ก ดูแลและเอาใจใส่นักเรียน เหมือนกับการสร้างงานฝีมือขึ้นสักชิ้นที่เต็มไปด้วยอารมณ์และความรู้สึก ทำให้การเรียนการสอนนั้นมีความหมายขึ้นมาจนเกิดเป็นความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ 2. สอนให้นักเรียนเชื่อมโยงกับชีวิตจริง  และฝึกให้นักเรียนคิดให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ให้ผู้เรียนเข้าใจว่า ความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะหนังสือเท่านั้น ครูยังควรเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ ทำให้นักเรียนเกิดความชำนาญในเรื่องที่นักเรียนสนใจ โดยครูให้คำปรึกษาช่วยเหลือในการปฏิบัติ และเชื่อมโยงสภาพชีวิตในชุมชนของนักเรียนกับความรู้ที่ศึกษาในโรงเรียน 3. ตั้งใจฟังนักเรียน  ครูต้องรู้จักตั้งคำถาม สามารถตอบข้อสงสัยแก่นักเรียนได้ และควรระลึกอยู่เสมอว่านักเรียนแต่ละคนในชั้นเรียนมีความแตกต่างกัน ครูควรกระตุ้นการตอบสนองการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะการสื่อสารให้แก่นัก เรียนด้วย 4. ไม่จำเป็นต้องมีแผนการสอนตายตัว  แต่ต้องยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ ม...

จรรยาบรรณของคนเป็น "ครู"

รูปภาพ
จรรยาบรรณวิชาชีพครู (Code of Ethics of Teaching Profession) ความหมาย จรรยาบรรณในวิชาชีพ หมายถึงประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพนั้นก็ได้ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้ ความสำคัญ จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่ อาชีพที่เป็น “วิชาชีพ” นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า “จรรยาบรรณ“ ส่วนลักษณะ “วิชาชีพ ” ที่สำคัญคือ เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับอุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี “จรรยาบรรณในวิชาชีพ” เพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดในจรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที...

เพียงแค่ 15-30 นาทีต่อวัน อย่างต่อเนื่องลูกก็จะกลายเป็นอัจฉริยะได้

รูปภาพ
สำหรับเด็กๆ แล้วการได้สนุกกับการทำงาน "ศิลปะ" แม้ช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 15 - 30 นาที ก็สามารถทำให้เด็กได้ใช้กระบวนการทาง "ความคิดสร้างสรรค์" รวมไปถึง ฝึกฝนทักษะพื้นฐานทางด้านศิลปะ  ด้วยการ เริ่มจากการ ลากเส้นตรง เส้นโค้ง ขีด เขียนไปมา หรือระบายสีในรูปร่างง่ายๆ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม รูปทรงอิสระต่างๆ ซึ่งเด็กจะค่อยๆ มีการปรับการใช้มือ การจับดินสอ ด้วยด้วยตนเอง รวมถึงการรับรู้ และสมาธิ  พร้อมทั้งได้ออกกำลังกล้ามเนื้อมัดเล็ก ข้อมือ การจัดระเบียบของร่างกาย สมาธิ ซึ่งเหมาะกับเด็กๆ ช่วงอายุ 3 ปีขึ้นไป ครูช้าง @ 2015

"ศิลปะ" ที่เป็นมากกว่า "ภาพเขียน"

รูปภาพ
"ศิลปะ" ที่เป็นมากกว่า "ภาพเขียน" หลายๆ คนจะคิดว่า "ศิลปะ" นั้นเป็นการวาดภาพสวยๆ การปลดปล่อยจินตนาการ ระบายสีสันลงไปในกระดาษอย่างสวยงาม หรือเป็นการฝึกสมาธิ และทำให้จิตใจสงบ อารมณ์เบิกบาน "ศิลปะ" เป็นได้มากกว่านั้น เพราะสามารถนำมาใช้ในการบำบัดรักษาอาการของโรคต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งเราเรียกว่า "ศิลปะบำบัด" หรือ Art Therapy "ศิลปะบำบัด" (Art Therapy) คือ การใช้กิจกรรมทางศิลปะในหลายรูปแบบทั้งการวาด การปั้น การทำผ้าบาติก การทำเปเปอร์มาร์เช่ ฯลฯ เพื่อวินิจฉัยหาข้อบกพร่อง ความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิตใจ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นคำพูด หรือมีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งงานศิลปะจะช่วยให้บุคคลเหล่านี้ได้แสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดที่เก็บกดเอาไว้ นอกจากนั้นงานศิลปะยังนำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์คนไข้ได้ด้วย โดยจะวิเคราะห์อาการจากผลงานหรือการแสดงออกทางผลงานศิลปะ  "ศิลปะบำบัด" ความสำคัญจะอยู่ที่ "ในระหว่างการทำงานศิลปะ เราต้องไม่สนใจว่าผลงานจะออกมาอย่างไร สวยหรือไม่...

เริ่มต้นการ "วาดรูป" จากการ "เลียนแบบ"

รูปภาพ
เริ่มต้นการ "วาดรูป" จากการ "เลียนแบบ" การ "เลียนแบบ" ในการวาดรูปอย่างมี "สติ" จะช่วยทำให้เราเรียนรู้และเริ่มต้นการวาดภาพอย่างมีความสุข ซึ่งสามารถเลียนแบบได้ทั้งภาพที่วาดมาแล้ว, หุ่นนิ่ง หรือธรรมชาติรอบๆ ตัว เทคนิคของการวาดภาพ "เลียนแบบ"นั้น เราต้องทำการเรียนรู้ ศึกษา และเข้าใจต้นแบบนั้นๆ อยู่เสมอ จนเมื่อเกิดการเรียนรู้ และฝึกฝนจนมีความชำนาญมากขึ้น ต่อไปก็จะสามารถวาดภาพโดยแทบไม่ต้องมีแบบเลย และหากอยากจะเก่งมากยิ่งขึ้นก็ต้องทำการฝึกฝนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รูปแรกอาจจะยังไม่สวย แต่รูปที่ 10,000 ต้องสวยแน่นอนครับ "ครูช้าง" @ 2015

"ศิลปะ" และ "ดนตรี" สร้างความสุขและพัฒนา "เด็กพิเศษ" ได้

รูปภาพ
เด็กวันนี้ คือ ผู้ใหญ่วันข้างหน้า เด็กดีวันนี้ คือ  ผู้ใหญ่ที่ดีวันข้างหน้า เด็กมีความบกพร่อง  พ่อแม่และผู้ปกครองเป็นทุกข์ด้วย ทุกข์ของเด็ก ก็คือทุกข์ของแผ่นดิน ใครคือเด็กพิเศษ? "เด็กพิเศษ" คือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (กว่าคนทั่วไป) เช่น  1. เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย 2. เด็กสมาธิสั้น 3. เด็กดาวน์ซินโดรม 4. เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ 5. เด็กออทิสติก 6. เด็กพิการทางสมอง 7. เด็กพิการซ้ำซ้อน 8. เด็กปัญญาเลิศ "เด็กพิเศษ" ในความหมายของวันนี้ คือเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งวิธีการดูแลเด็กแต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างกัน และจะได้ผลมากน้อยขึ้นกับว่าเด็กแต่ละคนได้รับการค้นพบเร็วหรือช้าด้วย ยิ่งเริ่มต้นดูแล เอาใจใส่ แก้ไขข้อบกพร่องตามวิถีทางที่ถูกต้อง เด็กก็จะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้น  แม้ว่าเราจะมีวิธีการช่วยเด็กหลายวิธี มีการบำบัดเด็กหลายๆ แบบ 2 อย่างในนั้นก็คือ การใช้เสียงดนตรีและเส้นสีที่สวยงาม คุณทราบไหมว่า ดนตรีและศิลปะ ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรามากๆนี้ เป็นสิ่งที่นำมาช่วยแก้ไขและพัฒนาเด็กพิเศษกลุ่มอาการต่างๆ ได้ในระดับที่น่าพอใจ  ดนตรี ช่วย...