ศิลปะกับความคิดของมนุษย์
"สมอง" เป็นอะไรที่น่าทึ่งมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ เพราะทำให้เราต่างไปจากสัตว์ มีการพัฒนาความคิดตั้งแต่เด็กไปจนโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และขบวนการทางความคิดนั้นต้องเริ่มพัฒนากันมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ซึ่งในเบื้องต้นกระบวนการความคิดที่จะกล่าวคือ กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล (Reasoning Thingking) และ กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thingking)
"กระบวนการทางความคิดอย่างมีเหตุผล" นั้นได้มาจากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และภาษา เพราะกระบวนการของวิชาเหล่านี้จะเกี้ยวข้องกับการหาเหตุผล สรุปสิ่งที่หาได้จากเหตุผลเป็นผลลัพธ์ วิชาเหล่านี้จึงจำเป็นสำหรับสนุษย์ในแง่ของการนำทักษะของกระบวนการคิดนี้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
แต่มี ข้อเสียก็คือ ถ้าเด็กได้รับการพัฒนากระบวนการคิดแบบนี้มากเกินไป เด็กจะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว มักคิดแต่เรื่องผลประโยชน์ เรื่องของการแพ้ชนะ มากกว่าที่จะมีน้ำใจให้กับผู้อื่น
ส่วน "กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์" เป็นการผสมผสานจินตนาการเข้าเหตุผล จนเกิดเป็นความคิดใหม่ อันเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และสังคม ซึ่งการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นี้ได้มาจากกระบวนการของวิชาที่มีความยืดหยุ่น ไม่มีผลลัพธ์ตายตัว เช่นวิชาพละ นาฏศิลป์ ดนตรี และศิลปะ
ผลดีของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คือ เด็กๆ กล้าที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ไม่นิยมลอกเลียนแบบ มีความมั่นใจ อ่อนโยน รู้จักสังเกต และรู้จักแบ่งปัน
ซึ่ง กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์นี้ จึงจำเป็นมากสำหรับเด็กๆ
สำนักข่าวรอยเตอร์เคยรายงานว่า ในปี 1996 ที่มหาวิทยาลัยบราวน์ มีงานวิจัยว่า "เด็กอายุ 6 ขวบ หากได้เรียนศิลปะและดนตรีไปพร้อมๆ กับการเรียนวิชาการจะมีความสามารถในการอ่านและทำโจทย์คณิตศาสตร์ได้ดี"
ดังนั้นพอจะพิสูจน์ได้ว่า กระบวนการทางความคิดทั้งสองนั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรจะพัฒนาอย่างรวดเร็วในขณะที่เด็กๆ อายุยังน้อย ส่วนกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลนั้นพัฒนาได้ช้ากว่า แต่เมื่อใดที่ได้พัฒนามาจนตามทัน การคิดอย่างมีเหตุผลตามกฏเกณฑ์ของชีวิต กฏเกณฑ์ของสังคม จะทำให้การคิดอย่างสร้างสรรค์ลดลง
ดังนั้นถ้าเราจะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กๆ ควรจะต้องเริ่มต้นให้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้
เรียบเรียงมาจาก "ศิลปะกับความคิดมนุษย์" โดย "ณัฐรดา สุขสุธรรมวงศ์"
kruchang @ 2015
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น