"ศิลปะ" และ "ดนตรี" สร้างความสุขและพัฒนา "เด็กพิเศษ" ได้
เด็กวันนี้ คือ ผู้ใหญ่วันข้างหน้า
เด็กดีวันนี้ คือ
ผู้ใหญ่ที่ดีวันข้างหน้า
เด็กมีความบกพร่อง
พ่อแม่และผู้ปกครองเป็นทุกข์ด้วย
ทุกข์ของเด็ก ก็คือทุกข์ของแผ่นดิน
ใครคือเด็กพิเศษ?
"เด็กพิเศษ" คือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (กว่าคนทั่วไป) เช่น
1. เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย
2. เด็กสมาธิสั้น
3. เด็กดาวน์ซินโดรม
4. เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
5. เด็กออทิสติก
6. เด็กพิการทางสมอง
7. เด็กพิการซ้ำซ้อน
8. เด็กปัญญาเลิศ
"เด็กพิเศษ" ในความหมายของวันนี้ คือเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งวิธีการดูแลเด็กแต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างกัน และจะได้ผลมากน้อยขึ้นกับว่าเด็กแต่ละคนได้รับการค้นพบเร็วหรือช้าด้วย ยิ่งเริ่มต้นดูแล เอาใจใส่ แก้ไขข้อบกพร่องตามวิถีทางที่ถูกต้อง เด็กก็จะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้น
แม้ว่าเราจะมีวิธีการช่วยเด็กหลายวิธี มีการบำบัดเด็กหลายๆ แบบ 2 อย่างในนั้นก็คือ การใช้เสียงดนตรีและเส้นสีที่สวยงาม คุณทราบไหมว่า ดนตรีและศิลปะ ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรามากๆนี้ เป็นสิ่งที่นำมาช่วยแก้ไขและพัฒนาเด็กพิเศษกลุ่มอาการต่างๆ ได้ในระดับที่น่าพอใจ
ดนตรีช่วยให้เด็กฟัง เกิดการรับรู้ ในสมองเกิดการทำงาน เมื่อทำกิจกรรมดนตรี ก็เกิดการร่วมมือของประสาทส่วนต่างๆ ตากับมือ มือซ้ายกับมือขวา เมื่อเต้นรำ ก็มีการทำงานร่วมกันของขาขวา-ซ้าย-มือขวา- ซ้ายและร่างกายส่วนต่างๆ ดนตรีช่วยให้เด็กรอคอยเป็น และเป็นสิ่งที่สำเร็จได้เร็ว ไม่ต้องรอคอยนาน ถ้าเขาทำเพลง 1 นาทีได้สำเร็จ ก็เป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งแล้ว เด็กพิเศษต่างมีประสบการณ์แห่งความล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกเปรียบเทียบกับคนอื่น ดนตรีจึงเป็นกิจกรรมที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนงานศิลปะช่วยให้เด็กพิเศษมองเป็น และรู้จักใช้พื้นที่ให้เกิดความสวยงามด้วยเส้นและสี มีความสุขกับการใช้พู่กัน เล่นกับกระดาษ และอุปกรณ์การวาดด้วยเทคนิคต่างๆ เด็กแต่ละคนจะมีโอกาสสร้างงานที่เป็นสไตล์ตัวเอง วันเวลาที่ผ่านไปกับการฝึกฝนด้านศิลปะ ใจของเด็กกล้าหาญขึ้น งานศิลปะช่วยให้เขามีสมาธิทำงานที่นาน ใช้เวลามุ่งมั่นกับงานนั้น งานศิลปะช่วยให้คนยอมรับเขาอย่างที่เขาเป็น ทำให้คนอื่นได้เห็นความสามารถที่ฝังลึกอยู่ข้างใน
แนวคิด "ดนตรีและศิลปะ" กับเด็กพิเศษ
จากประสบการณ์เป็นครูสอนดนตรี และมีโอกาสเริ่มต้นสอนดนตรีเด็กพิเศษ (ประมาณ 20 ปีมาแล้ว) พบว่าเด็กชอบดนตรี ซึ่งแม้จะไม่สามารถฝึกทักษะการเล่น การร้องได้เท่ากับเด็กปกติ แต่ทุกคนทำกิจกรรมดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่งได้แน่นอน ไม่มีใครสักคนที่หมดหวังจนไม่เหลืออะไร หรือทำอะไรไม่ได้เลย เด็กพิเศษมีปัญหาทางสมอง หรือทางอารมณ์มากๆ บางคนอาจตีแทมเบอรีนเข้าจังหวะได้ ตีกลองในลีลาที่ครูกำหนดให้ได้ บางคนร้องเพลงได้ และยังมีอีกกลุ่มที่ถึงกับเล่นเครื่องที่ยากขึ้นไปอย่างเช่น ระนาด เปียโน กลองชุด
ข้อดีของดนตรีคือ มีเครื่องมือหลายชนิดให้เลือก เล่น เหมาะกับแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีไทยหรือสากลก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคาะ กลอง หรือเครื่องที่มีระดับเสียงอย่างเช่น กีตาร์ ระนาด ซอ และเครื่องดนตรีทุกชิ้นมีเสน่ห์ในตัวเอง เด็กพิเศษที่มีปัญหาทางสมองจึงมีโอกาสเลือกได้มากว่าจะเล่นอะไร บางคนอาจหลงใหลน้ำเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิด และสามารถนั่งฟัง และทำกิจกรรมนานๆ
สิ่งที่ผู้ปกครอง หรือครูควรรู้ล่วงหน้าก่อนที่จะพาลูกเข้าไปสู่โลกของเสียงเพลงก็คือ ต้องไม่ท้อใจง่ายๆ เพราะเด็กพิเศษจะมีกำแพงกั้นขวางตัวเขาเองกับโลกภายนอก เป็นความบกพร่องทางการสื่อสาร ปัญหาการประมวลความรู้สึก ปัญหาของประสาทสัมพันธ์ ภาวะปัญญาบกพร่อง ความก้าวร้าว ปัญหาทางสมาธิ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามหลายครั้ง เราต้องก้าวข้ามกำแพงนั้นไป หรือทะลุทะลวงเข้าไป เพื่อเข้าใจเขาว่า อะไรเป็นสาเหตุ อะไรจะเป็นสิ่งที่ช่วยเขา การทำซ้ำต้องมีมากกว่าเด็กทั่วไป ต้องทำให้บทเรียนง่าย แตกบทเรียนให้เป็นขั้นตอน และให้เรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อย เวลาอยู่กับดนตรีต้องเป็นเวลาแห่งความรื่นรมย์ไม่ใช่เวลาที่ผู้ใหญ่จะเคี่ยวเข็ญเอาให้ได้
ดนตรีเป็นเรื่องราวการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด ไม่จำเป็นต้องย่ำอยู่แต่เรื่องของทักษะเช่นการเล่นเครื่องดนตรีให้เป็นแต่อย่างเดียว เรายังสอนให้เด็กรักดนตรี ให้ชอบฟัง ให้รู้จักเพลงที่มีลีลา อารมณ์แตกต่างกัน สอนให้เต้นรำ เต้นเข้าจังหวะ นำเด็กเข้ามามีส่วนในการทำกิจกรรมดนตรีแบบต่างๆ นี่แหละคือโอกาสดีที่จะพัฒนาเด็กแล้ว
คุณพ่อเด็กพิเศษคนหนึ่งบอกว่า "ให้ลูกเรียนดนตรีไปก็เท่านั้น ยังไงๆ ก็ทำเป็นอาชีพไม่ได้หรอก เปลืองเงิน เสียเวลาเปล่าๆ"
นับว่าโชคดีที่พ่อแม่อีกหลายคนไม่ได้คิดเช่นนั้น แต่เปิดโอกาสให้ลูกสัมผัสโลกของดนตรีอย่างจริงจัง และได้พบความมหัศจรรย์อย่างที่ไม่คาดคิด ลูกบางคนพูดไม่ได้ แต่เล่นดนตรีได้ และมีอีกภาษาที่จะสื่อให้คนอื่นได้รับรู้ถึงความรู้สึกข้างในของเขา และเขามีโอกาสทำให้คนอื่นได้รู้ว่า... เขามีความสามารถเหมือนกันนะ วันเดือนปีที่ผ่านไป ได้สะสมความรู้ความเข้าใจทางดนตรี เด็กคนนี้ จึงมีบางอย่างในชีวิตที่คนพิเศษทั่วไปไม่มี
กระบวนการ... ดนตรีกับเด็กพิเศษสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการช่วยลูก
สิ่งแรกจะต้องสังเกตว่าเด็กสามารถนั่งฟังเพลง นิ่งๆ แม้สัก 5-6 วินาทีได้หรือเปล่า
ดูด้วยว่าเด็กเลียนแบบได้หรือไม่ เพราะมีเด็กบางคนช่วงแรกๆ เลียนแบบไม่เป็น และไม่สามารถที่จะนั่งนิ่งได้
การเรียนดนตรีนั้น จะต้องเลียนแบบ ต้องได้ฟังก่อน ถึงจะร้องได้ อย่างเช่นตบมือให้เหมือนตีกลองแบบเดียวกัน ร้องเพลงในระดับเสียงที่เท่าๆ กัน
การเลียนแบบของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเด็กที่เข้ามาแล้วเลียนแบบไม่ได้ พ่อแม่จะต้องปรับวิธีการสอนให้เด็กเลียนแบบเป็น สอนให้เขานำบ้าง และเราทำตาม สลับกันไปมา จะช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของการเลียนแบบ และเขาก็จะเข้าอยู่ในกระบวนการเรียนดนตรีได้
สำหรับเด็กที่ไม่ยอมเลียนแบบ ไม่มอง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกลุ่มออทิสติก
เราสอนให้เด็กทำตาม ด้วยการจับมือเด็กให้ทำตามจังหวะดนตรี นั่นคือสอนให้กล้ามเนื้อของเด็กทำตาม ว่า... อ๋อ ผู้ใหญ่ทำอย่างนี้เขาก็ทำตามแบบนี้ ซึ่งจะต้องทำจนกระทั่งเด็กสามารถทำเองได้ ตามอง และสมองของเด็กเข้าใจว่า เขาต้องตามอย่างไร
การเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน แต่เมื่อการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนไปถึงจุดที่เด็กเริ่มเข้าใจแล้ว สามารถแบ่งย่อยได้อีกว่า เราจะให้เขาร้องเพลง หรือเล่นเครื่องดนตรี หรือเต้นรำ ถ้าจะฝึกร้องเพลง ก็ฝึกทักษะการเปล่งเสียงด้วยคำง่ายๆ ที่เด็กคุ้นเคยก่อน แล้วนำคำเหล่านี้มาร้องเป็นทำนอง มีจังหวะอยู่ในนั้นโดยไม่รู้ตัว ค่อยๆ เรื่อยๆ และบ่อยๆ ซึ่งเป็นการสอนให้เด็กเลียนแบบได้ เปล่งเสียงได้
การเคาะจังหวะ เริ่มด้วยการให้เด็กตบมือเท่ากับจังหวะของเนื้อเพลงเลย จะสังเกตได้ว่าจังหวะที่ ตบนั้นมีระยะทาง หรือระยะเวลาสั้น ยาว เท่ากันบ้าง แตกต่างกันบ้าง เป็นการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดสำหรับเด็กส่วนใหญ่ สมมุติว่าเราจะเริ่มที่เพลงช้าง ซึ่งพวกเราคุ้นกันอยู่ เราก็จะให้เด็กตีกลอง หรือตบมือ หรือใช้เครื่องเคาะใดๆ ที่หามาได้ ทำจังหวะโดยให้เด็กตีเท่ากับคำร้อง ที่เขียนเป็นจังหวะเพื่อให้เห็นภาพชัดว่า ควรตีจังหวะได้ประมาณใด เมื่อเด็กทำได้แล้ว ลองให้เขาตีจังหวะบรรทัดบน เท่าๆ กันตลอด หรือถ้ามีฉิ่งฉับก็ตีตามนั้นเป็นจังหวะเท่าๆ กัน พร้อมกับท่องกลอน หรือร้องเป็นเพลงไปด้วย
เด็กดีวันนี้ คือ
ผู้ใหญ่ที่ดีวันข้างหน้า
เด็กมีความบกพร่อง
พ่อแม่และผู้ปกครองเป็นทุกข์ด้วย
ทุกข์ของเด็ก ก็คือทุกข์ของแผ่นดิน
ใครคือเด็กพิเศษ?
"เด็กพิเศษ" คือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (กว่าคนทั่วไป) เช่น
1. เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย
2. เด็กสมาธิสั้น
3. เด็กดาวน์ซินโดรม
4. เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
5. เด็กออทิสติก
6. เด็กพิการทางสมอง
7. เด็กพิการซ้ำซ้อน
8. เด็กปัญญาเลิศ
"เด็กพิเศษ" ในความหมายของวันนี้ คือเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งวิธีการดูแลเด็กแต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างกัน และจะได้ผลมากน้อยขึ้นกับว่าเด็กแต่ละคนได้รับการค้นพบเร็วหรือช้าด้วย ยิ่งเริ่มต้นดูแล เอาใจใส่ แก้ไขข้อบกพร่องตามวิถีทางที่ถูกต้อง เด็กก็จะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้น
แม้ว่าเราจะมีวิธีการช่วยเด็กหลายวิธี มีการบำบัดเด็กหลายๆ แบบ 2 อย่างในนั้นก็คือ การใช้เสียงดนตรีและเส้นสีที่สวยงาม คุณทราบไหมว่า ดนตรีและศิลปะ ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรามากๆนี้ เป็นสิ่งที่นำมาช่วยแก้ไขและพัฒนาเด็กพิเศษกลุ่มอาการต่างๆ ได้ในระดับที่น่าพอใจ
ดนตรีช่วยให้เด็กฟัง เกิดการรับรู้ ในสมองเกิดการทำงาน เมื่อทำกิจกรรมดนตรี ก็เกิดการร่วมมือของประสาทส่วนต่างๆ ตากับมือ มือซ้ายกับมือขวา เมื่อเต้นรำ ก็มีการทำงานร่วมกันของขาขวา-ซ้าย-มือขวา- ซ้ายและร่างกายส่วนต่างๆ ดนตรีช่วยให้เด็กรอคอยเป็น และเป็นสิ่งที่สำเร็จได้เร็ว ไม่ต้องรอคอยนาน ถ้าเขาทำเพลง 1 นาทีได้สำเร็จ ก็เป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งแล้ว เด็กพิเศษต่างมีประสบการณ์แห่งความล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกเปรียบเทียบกับคนอื่น ดนตรีจึงเป็นกิจกรรมที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนงานศิลปะช่วยให้เด็กพิเศษมองเป็น และรู้จักใช้พื้นที่ให้เกิดความสวยงามด้วยเส้นและสี มีความสุขกับการใช้พู่กัน เล่นกับกระดาษ และอุปกรณ์การวาดด้วยเทคนิคต่างๆ เด็กแต่ละคนจะมีโอกาสสร้างงานที่เป็นสไตล์ตัวเอง วันเวลาที่ผ่านไปกับการฝึกฝนด้านศิลปะ ใจของเด็กกล้าหาญขึ้น งานศิลปะช่วยให้เขามีสมาธิทำงานที่นาน ใช้เวลามุ่งมั่นกับงานนั้น งานศิลปะช่วยให้คนยอมรับเขาอย่างที่เขาเป็น ทำให้คนอื่นได้เห็นความสามารถที่ฝังลึกอยู่ข้างใน
แนวคิด "ดนตรีและศิลปะ" กับเด็กพิเศษ
จากประสบการณ์เป็นครูสอนดนตรี และมีโอกาสเริ่มต้นสอนดนตรีเด็กพิเศษ (ประมาณ 20 ปีมาแล้ว) พบว่าเด็กชอบดนตรี ซึ่งแม้จะไม่สามารถฝึกทักษะการเล่น การร้องได้เท่ากับเด็กปกติ แต่ทุกคนทำกิจกรรมดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่งได้แน่นอน ไม่มีใครสักคนที่หมดหวังจนไม่เหลืออะไร หรือทำอะไรไม่ได้เลย เด็กพิเศษมีปัญหาทางสมอง หรือทางอารมณ์มากๆ บางคนอาจตีแทมเบอรีนเข้าจังหวะได้ ตีกลองในลีลาที่ครูกำหนดให้ได้ บางคนร้องเพลงได้ และยังมีอีกกลุ่มที่ถึงกับเล่นเครื่องที่ยากขึ้นไปอย่างเช่น ระนาด เปียโน กลองชุด
ข้อดีของดนตรีคือ มีเครื่องมือหลายชนิดให้เลือก เล่น เหมาะกับแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีไทยหรือสากลก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคาะ กลอง หรือเครื่องที่มีระดับเสียงอย่างเช่น กีตาร์ ระนาด ซอ และเครื่องดนตรีทุกชิ้นมีเสน่ห์ในตัวเอง เด็กพิเศษที่มีปัญหาทางสมองจึงมีโอกาสเลือกได้มากว่าจะเล่นอะไร บางคนอาจหลงใหลน้ำเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิด และสามารถนั่งฟัง และทำกิจกรรมนานๆ
สิ่งที่ผู้ปกครอง หรือครูควรรู้ล่วงหน้าก่อนที่จะพาลูกเข้าไปสู่โลกของเสียงเพลงก็คือ ต้องไม่ท้อใจง่ายๆ เพราะเด็กพิเศษจะมีกำแพงกั้นขวางตัวเขาเองกับโลกภายนอก เป็นความบกพร่องทางการสื่อสาร ปัญหาการประมวลความรู้สึก ปัญหาของประสาทสัมพันธ์ ภาวะปัญญาบกพร่อง ความก้าวร้าว ปัญหาทางสมาธิ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามหลายครั้ง เราต้องก้าวข้ามกำแพงนั้นไป หรือทะลุทะลวงเข้าไป เพื่อเข้าใจเขาว่า อะไรเป็นสาเหตุ อะไรจะเป็นสิ่งที่ช่วยเขา การทำซ้ำต้องมีมากกว่าเด็กทั่วไป ต้องทำให้บทเรียนง่าย แตกบทเรียนให้เป็นขั้นตอน และให้เรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อย เวลาอยู่กับดนตรีต้องเป็นเวลาแห่งความรื่นรมย์ไม่ใช่เวลาที่ผู้ใหญ่จะเคี่ยวเข็ญเอาให้ได้
ดนตรีเป็นเรื่องราวการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด ไม่จำเป็นต้องย่ำอยู่แต่เรื่องของทักษะเช่นการเล่นเครื่องดนตรีให้เป็นแต่อย่างเดียว เรายังสอนให้เด็กรักดนตรี ให้ชอบฟัง ให้รู้จักเพลงที่มีลีลา อารมณ์แตกต่างกัน สอนให้เต้นรำ เต้นเข้าจังหวะ นำเด็กเข้ามามีส่วนในการทำกิจกรรมดนตรีแบบต่างๆ นี่แหละคือโอกาสดีที่จะพัฒนาเด็กแล้ว
คุณพ่อเด็กพิเศษคนหนึ่งบอกว่า "ให้ลูกเรียนดนตรีไปก็เท่านั้น ยังไงๆ ก็ทำเป็นอาชีพไม่ได้หรอก เปลืองเงิน เสียเวลาเปล่าๆ"
นับว่าโชคดีที่พ่อแม่อีกหลายคนไม่ได้คิดเช่นนั้น แต่เปิดโอกาสให้ลูกสัมผัสโลกของดนตรีอย่างจริงจัง และได้พบความมหัศจรรย์อย่างที่ไม่คาดคิด ลูกบางคนพูดไม่ได้ แต่เล่นดนตรีได้ และมีอีกภาษาที่จะสื่อให้คนอื่นได้รับรู้ถึงความรู้สึกข้างในของเขา และเขามีโอกาสทำให้คนอื่นได้รู้ว่า... เขามีความสามารถเหมือนกันนะ วันเดือนปีที่ผ่านไป ได้สะสมความรู้ความเข้าใจทางดนตรี เด็กคนนี้ จึงมีบางอย่างในชีวิตที่คนพิเศษทั่วไปไม่มี
กระบวนการ... ดนตรีกับเด็กพิเศษสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการช่วยลูก
สิ่งแรกจะต้องสังเกตว่าเด็กสามารถนั่งฟังเพลง นิ่งๆ แม้สัก 5-6 วินาทีได้หรือเปล่า
ดูด้วยว่าเด็กเลียนแบบได้หรือไม่ เพราะมีเด็กบางคนช่วงแรกๆ เลียนแบบไม่เป็น และไม่สามารถที่จะนั่งนิ่งได้
การเรียนดนตรีนั้น จะต้องเลียนแบบ ต้องได้ฟังก่อน ถึงจะร้องได้ อย่างเช่นตบมือให้เหมือนตีกลองแบบเดียวกัน ร้องเพลงในระดับเสียงที่เท่าๆ กัน
การเลียนแบบของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเด็กที่เข้ามาแล้วเลียนแบบไม่ได้ พ่อแม่จะต้องปรับวิธีการสอนให้เด็กเลียนแบบเป็น สอนให้เขานำบ้าง และเราทำตาม สลับกันไปมา จะช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของการเลียนแบบ และเขาก็จะเข้าอยู่ในกระบวนการเรียนดนตรีได้
สำหรับเด็กที่ไม่ยอมเลียนแบบ ไม่มอง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกลุ่มออทิสติก
เราสอนให้เด็กทำตาม ด้วยการจับมือเด็กให้ทำตามจังหวะดนตรี นั่นคือสอนให้กล้ามเนื้อของเด็กทำตาม ว่า... อ๋อ ผู้ใหญ่ทำอย่างนี้เขาก็ทำตามแบบนี้ ซึ่งจะต้องทำจนกระทั่งเด็กสามารถทำเองได้ ตามอง และสมองของเด็กเข้าใจว่า เขาต้องตามอย่างไร
การเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน แต่เมื่อการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนไปถึงจุดที่เด็กเริ่มเข้าใจแล้ว สามารถแบ่งย่อยได้อีกว่า เราจะให้เขาร้องเพลง หรือเล่นเครื่องดนตรี หรือเต้นรำ ถ้าจะฝึกร้องเพลง ก็ฝึกทักษะการเปล่งเสียงด้วยคำง่ายๆ ที่เด็กคุ้นเคยก่อน แล้วนำคำเหล่านี้มาร้องเป็นทำนอง มีจังหวะอยู่ในนั้นโดยไม่รู้ตัว ค่อยๆ เรื่อยๆ และบ่อยๆ ซึ่งเป็นการสอนให้เด็กเลียนแบบได้ เปล่งเสียงได้
การเคาะจังหวะ เริ่มด้วยการให้เด็กตบมือเท่ากับจังหวะของเนื้อเพลงเลย จะสังเกตได้ว่าจังหวะที่ ตบนั้นมีระยะทาง หรือระยะเวลาสั้น ยาว เท่ากันบ้าง แตกต่างกันบ้าง เป็นการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดสำหรับเด็กส่วนใหญ่ สมมุติว่าเราจะเริ่มที่เพลงช้าง ซึ่งพวกเราคุ้นกันอยู่ เราก็จะให้เด็กตีกลอง หรือตบมือ หรือใช้เครื่องเคาะใดๆ ที่หามาได้ ทำจังหวะโดยให้เด็กตีเท่ากับคำร้อง ที่เขียนเป็นจังหวะเพื่อให้เห็นภาพชัดว่า ควรตีจังหวะได้ประมาณใด เมื่อเด็กทำได้แล้ว ลองให้เขาตีจังหวะบรรทัดบน เท่าๆ กันตลอด หรือถ้ามีฉิ่งฉับก็ตีตามนั้นเป็นจังหวะเท่าๆ กัน พร้อมกับท่องกลอน หรือร้องเป็นเพลงไปด้วย
การทำจังหวะซึ่งเกี่ยวพันกับประสาทแขนซ้ายแขนขวา และขาซ้ายขาขวา เมื่อเด็กแต่ละคนเรียนรู้เรื่องจังหวะการร้อง และการเต้นได้แล้ว เด็กก็ต้องเรียนรู้ที่จะทำดนตรีเป็นวงอีกด้วย เช่น ครูเล่นดนตรี เด็กร้อง หรือเด็กร้อง เด็กเต้น เด็กทำดนตรี เรื่องของดนตรีเป็นเรื่องของการให้เวลา พ่อแม่ที่กำลังสอนดนตรีให้กับลูก พอลูกทำเลียนแบบได้ ร้องได้ เต้นได้ จบเพลงปุ๊บ ชมลูกได้เลย พอชมปั๊บ ความรู้สึกดีๆในตัวเด็กแผ่ซ่านไปทั้งตัวจะเห็นได้ว่านอกจากดนตรีให้ทักษะด้านต่างๆ แล้ว ให้อารมณ์ที่สุนทรียะกับเด็กเป็นอย่างมาก
กระบวนการศิลปะกับเด็กพิเศษ
เรื่องของศิลปะเกี่ยวข้องกับการมองของเด็ก เพราะว่าเด็กต้องมองเป็น พอมองเป็นแล้วสามารถวาดได้ หนึ่งปัญหาที่พบก็คือเด็กพิเศษบางคนไม่ยอมแตะดินสอ ไม่ยอมแตะดิน สี ดินน้ำมัน ยื่นสีให้ก็กินบ้าง โยนทิ้งบ้าง ขยี้ ขยำบ้าง แค่นี้ก็พอที่จะทำให้คนที่ตั้งใจสอนท้อได้
ประสบการณ์ด้านศิลปะพบว่า เด็กกลุ่มออทิสติก ส่วนใหญ่เจอตอตั้งแต่ต้นคือ ไม่ค่อยยอมมองวัตถุที่เราตั้งใจจะให้วาด เราก็ต้องพยายามสอนให้เขามองและวาด ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง อาจใช้ผู้ใหญ่สองคนต่อเด็กคนเดียวเสียด้วยซ้ำ
ต่อไปให้เด็กเลียนแบบจากภาพที่เห็น เส้นที่เห็น สีที่เห็น หรือถ้าสำหรับเด็กกลุ่มออทิสติกคงต้องพูดว่า ภาพที่มอง เส้นที่มอง สีที่มอง
เด็กเหล่านี้มีจินตนาการ แต่ต้องสร้างความเข้าใจโลกรอบตัวให้ก่อน เพราะการสอนจินตนาการเด็กพิเศษ ต้องใช้เวลานานมาก ถึงแม้ว่าเด็กกลุ่มออทิสติกจะมองเห็นและเข้าใจทุกอย่างเป็นภาพ แต่ว่าไม่ใช่ทุกคนจะสามารถนำออกมาได้เลย ต้องผ่านการฝึกบ่อยๆ
ตัวอย่างการสอนให้เด็กเล่นกับเส้น ไม่ว่าเด็กพิเศษหรือเด็กทั่วไป มักจะชอบลากเส้น ขีดโน่น เขี่ยนี่ ยกเว้นเด็กบางคนที่เกลียดดินสอ เกลียดการลากเส้น ซึ่งอาจมาจากการถูกบังคับให้เขียนตัวหนังสือ ที่เขารู้สึกว่ายากเย็นแสนเข็ญ จึงกลายเป็นศัตรูของเครื่องมือขีดเขียนทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นดินสอ ปากกา ดินสอสี
สำหรับเด็กพิเศษนั้น การลากเส้นง่ายๆ ช่วยสร้างความมั่นใจ เพราะความมั่นใจของเด็กเป็นทักษะสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของทุกคน
การเริ่มต้นขีดเขี่ย ยุ่งเหยิงไปมา ดูเหมือนไม่มีจุดหมาย ไร้สาระ แต่ถ้าเด็กเริ่มแล้วพบว่าบางคนพัฒนา เป็นรูปร่างค่อนข้างเร็ว บางคนอาจเชื่องช้าในความรู้สึกของพ่อแม่ อย่าให้ความช้าของเด็กทำให้ท้อ... ต้องให้กำลังใจและเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงใส่ความรู้สึกว่าการได้เขียน ได้วาด เป็นสิ่งสนุกสนานน่าอภิรมย์
นอกจากพู่กัน ดินสอสีแล้ว นิ้วมือของคนเราก็ช่วย สร้างสรรค์งานศิลปะและฝึกทักษะเด็กพิเศษได้เหมือนกัน เริ่มด้วยการให้เด็กจุ่มนิ้วลงในจานสีน้ำแล้วพิมพ์ลงบนกระดาษ หรือใช้นิ้วมือวาดรูปตามที่ต้องการแทนพู่กันก็ได้ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของกิจกรรมที่ทำให้เด็กไม่เกิดความเบื่อจากการทำกิจกรรมซ้ำๆ ด้วยอุปกรณ์เดิม
►เด็กพิการซ้ำซ้อน
เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps) เด็กบกพร่องซ้ำซ้อน หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญญาอ่อน-ตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ หูหนวก-ตาบอด ฯลฯ
เด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อนซึ่งบางทีอาจเรียกว่าเด็กพิการซ้ำซ้อน (Multiple) หมายถึง เด็กที่มีสภาพความบกพร่องทางอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (เช่น เด็กร่างกายพิการ แขน ขา ลำตัว เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อน เป็นต้น )มากกว่า 1 ในบุคคลเดียวกัน เช่น เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด เป็นต้น
ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อนเป็นจำนวนมากมีระดับความบกพร่องอยู่ในขั้นรุนแรง จึงควรที่ครูจะทำความเข้าใจกับความต้องการ และลักษณะของเด็กเหล่านี้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. มีปัญหาในการช่วยตัวเอง
2. มีปัญหาในการสื่อสาร
3. มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
4. มีปัญหาทางพฤติกรรม
►เด็กปัญญาอ่อนเด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญาหรือเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย มีปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เด็กปัญญาอ่อนอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ปัญญาอ่อนประเภทเรียนได้หรือปัญญาอ่อนขนาดน้อย ปัญญาอ่อนประเภทฝึกได้หรือปัญญาอ่อนขนาดปานกลางและปัญญาอ่อนมากและรุนแรง
การสอนเด็กปัญญาอ่อนประเภท เรียนได้หรือปัญญาอ่อนขนาดน้อย ซึ่งมีระดับเชาวน์ปัญญาระหว่างประมาณ 50-70 เด็กปัญญาอ่อนพวกนี้จะเรียนในระดับประถมศึกษาในชั้นเรียนที่จัดให้เป็นพิเศษ และสามารถร่วมกิจกรรมทางสังคมกับเด็กนักเรียนปกติได้ ใช้หลักสูตรพิเศษที่ปรับจากหลักสูตรเด็กปกติในระดับมัธยมศึกษาจะเน้นทักษะทางอาชีพ สามารถฝึกอาชีพหรืองานง่ายๆ ได้
สำหรับเด็กปัญญาอ่อนประเภทฝึกได้หรือปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง ซึ่งมีระดับเชาวน์ปัญญาระหว่าง ประมาณ 25-50 เป็นพวกที่พอจะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆ ใช้หลักสูตรพิเศษที่เน้นทักษะการช่วยเหลือตนเองและทักษะทางอาชีพ
เด็กปัญญาอ่อนมากและรุนแรง มีระดับเชาน์ปัญญาต่ำกว่า 25 ต้องการการฝึกหัดหรือการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ บางคนต้องการการเลี้ยงดู และการรักษาพยาบาลด้วย
►เด็กแอลดี
เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (learning disabilities : LD) คือเด็กที่มีความบกพร่องในกระบวนการทางจิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจในการใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน
1. ปัญหาในการเรียน เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มีปัญหาในด้านการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์
2. ปัญหาทางภาษา เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มักมีปัญหาด้านการพูด และการใช้ภาษา
3. ความบกพร่องทางการรับรู้ การรับรู้มีความหมายไปถึงการใช้ประสาทสัมผัสเพื่อจำแนก จำ และแปลความหมาย
4. ความผิดปกติในการเคลื่อนไหว จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ
- Hyperactivity เป็นการเคลื่อนไหวเกินปกติ
- Hypoactivity เป็นการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้าหรือน้อยกว่าปกติ
- Incoordination เป็นการเคลื่อนไหวที่ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้
5. ปัญหาด้านอารมณ์และสังคม หมายถึงความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเอง ขาดความอดทน มีความวิตกกังวลสูง ต่อต้านสังคม ทำงานช้า ก้าวร้าว และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเอง อาจไม่มีเพื่อนเพราะไม่มีใครอยากคบ
6. ปัญหาการจำ ได้แก่ การมีปัญหาการจำสิ่งที่ได้ยินและจำสิ่งที่มองเห็น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการสะกดคำ การทำตามคำสั่ง ตลอดจนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
7. ปัญหาด้านความสนใจ หมายถึง การมีช่วงความสนใจสั้น เพราะขาดสมาธิย่อมมีผลต่อการเรียนได้
►พิการทางสมอง
พิการทางสมอง (Cerebral palsy) มักเรียกกันสั้นๆว่า ซีพี (CP)
ทางการแพทย์จัดเด็กพิการซีพีเป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง ซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัว ใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ
เด็กพิการซีพีส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณร้อยละ 70-80 มีค่าไอคิวมากกว่า 70 บางรายมีการรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วย มากน้อยแตกต่างกัน
เนื่องจากเด็กพิการซีพีมีหลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับเนื้อที่บริเวณสมองที่เกิดความเสียหาย การจะทราบว่าเป็นซีพีแบบไหนจึงต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจวินิจฉัย
เด็กพิการทางสมองซีพี มักมีปัญหาในการนั่ง ยืน หรือเดิน เด็กจะมีการพัฒนาการช้า ยืน เดินได้ช้า รายที่เป็นมาก จะเดินไม่ได้ บางราย แม้แต่นั่งก็ยังไม่ได้ จะเอนล้มลง แขนขาเกร็ง คอเกร็ง บางรายพูดไม่ได้ หรือพูดไม่ชัด น้ำลายยืด ดังนั้น ถ้าพบว่าบุตรหลานมีพัฒนาการช้าผิดปกติ ควรนำไปปรึกษาแพทย์
►เด็กสมาธิสั้น
การวินิจฉัยโรคนี้ไม่ง่ายเหมือนกระดูกหักหรือปอดบวม เพราะโรคพวกนี้สามารถเห็นด้วยตาหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นจะอาศัยพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การขาดสมาธิ Inattention โดยสังเกตพบว่า
- เด็กจะสนใจงานหรือของเล่นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นหลังจากนั้นก็จะเบื่อ
- ไม่มีความพยายามที่จะทำงานที่ต้องใช้ทักษะ
- มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
- ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเวลาเล่น
- ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดไม่ได้
- ขี้ลืมบ่อย
- วอกแวกง่าย
2. Hyperactivity เด็กจะไม่อยู่นิ่งและควบคุมตัวเองไม่ได้
- เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
- เล่นไปรอบห้อง
- พูดคุยตลอด พูดไม่หยุด
- เมื่อนั่งอยู่ที่เก้าอี้ก็ไม่สามารถนั่งนิ่งโยกไปโยกมา
- เตะสิ่งโน้นสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา
- เคาะโต๊ะส่งเสียงดัง
- รอคอยไม่เป็น
- ชอบขัดจังหวะเวลาที่ผู้อื่นพูดคุยกัน
- บางคนอาจจะทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน
3. Impulsivity เด็กจะหุนหัน เด็กจะทำหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ไม่ได้คิด เด็กอาจจะพูดโต้ตอบโดยที่ไม่คิด ข้ามถนนโดยที่ไม่ดูรถ เด็กจะไม่สามารถรอคอยสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ เด็กอาจจะแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เมื่อไม่พอใจเด็กอาจจะทำลายของเล่นนั้น
การประเมินว่าเด็กคนใดจะเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ แพทย์จะประเมินพฤติกรรมที่เป็นมากเกินไปหรือไม่ เป็นระยะเวลานานหรือไม่ อาการเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเทียบกับเด็กอื่นที่อายุใกล้เคียงกันมีความแตกต่างกันหรือไม่ พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเป็นเพียงตอบสนองต่อเหตุการณ์บางอย่างหรือไม่ พฤติกรรมนั้นเกิดซ้ำๆ กันต่างเวลาและต่างสถานที่
►เด็กออทิสติก
ออทิสติก (Autistic) คือกลุ่มอาการที่แสดงความผิดปกติของพัฒนาการของเด็ก
ลักษณะอาการของเด็กที่เป็นออทิสติกคือ ชอบแยกตัว อยู่กับตัวเอง ไม่พูดหรือติดต่อสื่อสารทางภาษากับคนอื่น และมีปัญหาด้านพฤติกรรม
การจะประเมินว่าเด็กคนไหนเป็นเด็กออทิสติกนั้น ดูได้จากพัฒนาการทางด้านสังคมและพัฒนาการทางด้านการสื่อสารว่าเป็นไปตามวัยหรือไม่ เด็กที่เป็นออทิสติกกระบวนการพัฒนาจะเป็นไปอย่างช้าๆ บางครั้งพ่อแม่อาจจะเข้าใจไปว่าลูกอายุ 3 ขวบ แล้วแต่ยังไม่พูด เพราะว่าลูกขี้อาย ปากหนักจึงไม่ยอมพูด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะออทิสติกไม่สามารถตรวจสอบได้จากอายุของเด็ก
การจะสังเกตว่าลูกเป็นเด็กออทิสติกหรือไม่นั้น ทำได้ตั้งแต่เขายังเล็กๆ โดยสังเกตตามขั้นตอนของการพัฒนาการที่เด็กควรจะเป็น ดังนี้
1. เด็กดูดนมได้ไม่ดี
2. เงียบเฉย ดีเกินไปไม่ชอบ
3. ไม่สนใจให้ใครกอดรัด
4. ไม่แสดงท่าทางหรือส่งเสียงเรียก
5. ไม่สนใจใคร แต่บางรายอาจติดคนมากจนผิดปกติ
6. เด็กไม่สบตา
7. ไม่แสดงท่าทางหรือส่งเสียงเรียก
8. ไม่สนใจที่จะให้ใครอุ้ม
9. ไม่ตอบสนองทางด้านอารมณ์
10. ไม่ลอกเลียนแบบ
11. ไม่ส่งเสียงไม่อ้อแอ้
12. ชี้นิ้วไม่เป็น
13. เรียกให้คนอื่นเล่นด้วยไม่เป็น
14. ท่าทางเฉยเมย ไร้อารมณ์เมื่อถูกชักชวนให้เล่น
15. ไม่แสดงอาการดีใจให้เห็นหรือทักทายคนที่เด็กชอบ หรือหากแสดงออกก็มากเกินไป
16. ผูกพันกับสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ เล่นติดเชือกฟาง ใบไม้ ผ้าอ้อม ถ้าดึงออกจะกรีดร้องอยู่นาน
17. ความรู้สึกของคนเลี้ยงดูว่าเด็กต่างจากคนอื่น หมายถึงผู้เลี้ยงสังเกตได้ว่าเด็กไม่เหมือนคนอื่น
ประสบการณ์ด้านศิลปะพบว่า เด็กกลุ่มออทิสติก ส่วนใหญ่เจอตอตั้งแต่ต้นคือ ไม่ค่อยยอมมองวัตถุที่เราตั้งใจจะให้วาด เราก็ต้องพยายามสอนให้เขามองและวาด ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง อาจใช้ผู้ใหญ่สองคนต่อเด็กคนเดียวเสียด้วยซ้ำ
ต่อไปให้เด็กเลียนแบบจากภาพที่เห็น เส้นที่เห็น สีที่เห็น หรือถ้าสำหรับเด็กกลุ่มออทิสติกคงต้องพูดว่า ภาพที่มอง เส้นที่มอง สีที่มอง
เด็กเหล่านี้มีจินตนาการ แต่ต้องสร้างความเข้าใจโลกรอบตัวให้ก่อน เพราะการสอนจินตนาการเด็กพิเศษ ต้องใช้เวลานานมาก ถึงแม้ว่าเด็กกลุ่มออทิสติกจะมองเห็นและเข้าใจทุกอย่างเป็นภาพ แต่ว่าไม่ใช่ทุกคนจะสามารถนำออกมาได้เลย ต้องผ่านการฝึกบ่อยๆ
ตัวอย่างการสอนให้เด็กเล่นกับเส้น ไม่ว่าเด็กพิเศษหรือเด็กทั่วไป มักจะชอบลากเส้น ขีดโน่น เขี่ยนี่ ยกเว้นเด็กบางคนที่เกลียดดินสอ เกลียดการลากเส้น ซึ่งอาจมาจากการถูกบังคับให้เขียนตัวหนังสือ ที่เขารู้สึกว่ายากเย็นแสนเข็ญ จึงกลายเป็นศัตรูของเครื่องมือขีดเขียนทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นดินสอ ปากกา ดินสอสี
สำหรับเด็กพิเศษนั้น การลากเส้นง่ายๆ ช่วยสร้างความมั่นใจ เพราะความมั่นใจของเด็กเป็นทักษะสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของทุกคน
การเริ่มต้นขีดเขี่ย ยุ่งเหยิงไปมา ดูเหมือนไม่มีจุดหมาย ไร้สาระ แต่ถ้าเด็กเริ่มแล้วพบว่าบางคนพัฒนา เป็นรูปร่างค่อนข้างเร็ว บางคนอาจเชื่องช้าในความรู้สึกของพ่อแม่ อย่าให้ความช้าของเด็กทำให้ท้อ... ต้องให้กำลังใจและเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงใส่ความรู้สึกว่าการได้เขียน ได้วาด เป็นสิ่งสนุกสนานน่าอภิรมย์
นอกจากพู่กัน ดินสอสีแล้ว นิ้วมือของคนเราก็ช่วย สร้างสรรค์งานศิลปะและฝึกทักษะเด็กพิเศษได้เหมือนกัน เริ่มด้วยการให้เด็กจุ่มนิ้วลงในจานสีน้ำแล้วพิมพ์ลงบนกระดาษ หรือใช้นิ้วมือวาดรูปตามที่ต้องการแทนพู่กันก็ได้ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของกิจกรรมที่ทำให้เด็กไม่เกิดความเบื่อจากการทำกิจกรรมซ้ำๆ ด้วยอุปกรณ์เดิม
►เด็กพิการซ้ำซ้อน
เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps) เด็กบกพร่องซ้ำซ้อน หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญญาอ่อน-ตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ หูหนวก-ตาบอด ฯลฯ
เด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อนซึ่งบางทีอาจเรียกว่าเด็กพิการซ้ำซ้อน (Multiple) หมายถึง เด็กที่มีสภาพความบกพร่องทางอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (เช่น เด็กร่างกายพิการ แขน ขา ลำตัว เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อน เป็นต้น )มากกว่า 1 ในบุคคลเดียวกัน เช่น เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด เป็นต้น
ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อนเป็นจำนวนมากมีระดับความบกพร่องอยู่ในขั้นรุนแรง จึงควรที่ครูจะทำความเข้าใจกับความต้องการ และลักษณะของเด็กเหล่านี้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. มีปัญหาในการช่วยตัวเอง
2. มีปัญหาในการสื่อสาร
3. มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
4. มีปัญหาทางพฤติกรรม
►เด็กปัญญาอ่อนเด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญาหรือเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย มีปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เด็กปัญญาอ่อนอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ปัญญาอ่อนประเภทเรียนได้หรือปัญญาอ่อนขนาดน้อย ปัญญาอ่อนประเภทฝึกได้หรือปัญญาอ่อนขนาดปานกลางและปัญญาอ่อนมากและรุนแรง
การสอนเด็กปัญญาอ่อนประเภท เรียนได้หรือปัญญาอ่อนขนาดน้อย ซึ่งมีระดับเชาวน์ปัญญาระหว่างประมาณ 50-70 เด็กปัญญาอ่อนพวกนี้จะเรียนในระดับประถมศึกษาในชั้นเรียนที่จัดให้เป็นพิเศษ และสามารถร่วมกิจกรรมทางสังคมกับเด็กนักเรียนปกติได้ ใช้หลักสูตรพิเศษที่ปรับจากหลักสูตรเด็กปกติในระดับมัธยมศึกษาจะเน้นทักษะทางอาชีพ สามารถฝึกอาชีพหรืองานง่ายๆ ได้
สำหรับเด็กปัญญาอ่อนประเภทฝึกได้หรือปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง ซึ่งมีระดับเชาวน์ปัญญาระหว่าง ประมาณ 25-50 เป็นพวกที่พอจะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆ ใช้หลักสูตรพิเศษที่เน้นทักษะการช่วยเหลือตนเองและทักษะทางอาชีพ
เด็กปัญญาอ่อนมากและรุนแรง มีระดับเชาน์ปัญญาต่ำกว่า 25 ต้องการการฝึกหัดหรือการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ บางคนต้องการการเลี้ยงดู และการรักษาพยาบาลด้วย
►เด็กแอลดี
เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (learning disabilities : LD) คือเด็กที่มีความบกพร่องในกระบวนการทางจิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจในการใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน
1. ปัญหาในการเรียน เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มีปัญหาในด้านการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์
2. ปัญหาทางภาษา เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มักมีปัญหาด้านการพูด และการใช้ภาษา
3. ความบกพร่องทางการรับรู้ การรับรู้มีความหมายไปถึงการใช้ประสาทสัมผัสเพื่อจำแนก จำ และแปลความหมาย
4. ความผิดปกติในการเคลื่อนไหว จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ
- Hyperactivity เป็นการเคลื่อนไหวเกินปกติ
- Hypoactivity เป็นการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้าหรือน้อยกว่าปกติ
- Incoordination เป็นการเคลื่อนไหวที่ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้
5. ปัญหาด้านอารมณ์และสังคม หมายถึงความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเอง ขาดความอดทน มีความวิตกกังวลสูง ต่อต้านสังคม ทำงานช้า ก้าวร้าว และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเอง อาจไม่มีเพื่อนเพราะไม่มีใครอยากคบ
6. ปัญหาการจำ ได้แก่ การมีปัญหาการจำสิ่งที่ได้ยินและจำสิ่งที่มองเห็น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการสะกดคำ การทำตามคำสั่ง ตลอดจนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
7. ปัญหาด้านความสนใจ หมายถึง การมีช่วงความสนใจสั้น เพราะขาดสมาธิย่อมมีผลต่อการเรียนได้
►พิการทางสมอง
พิการทางสมอง (Cerebral palsy) มักเรียกกันสั้นๆว่า ซีพี (CP)
ทางการแพทย์จัดเด็กพิการซีพีเป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง ซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัว ใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ
เด็กพิการซีพีส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณร้อยละ 70-80 มีค่าไอคิวมากกว่า 70 บางรายมีการรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วย มากน้อยแตกต่างกัน
เนื่องจากเด็กพิการซีพีมีหลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับเนื้อที่บริเวณสมองที่เกิดความเสียหาย การจะทราบว่าเป็นซีพีแบบไหนจึงต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจวินิจฉัย
เด็กพิการทางสมองซีพี มักมีปัญหาในการนั่ง ยืน หรือเดิน เด็กจะมีการพัฒนาการช้า ยืน เดินได้ช้า รายที่เป็นมาก จะเดินไม่ได้ บางราย แม้แต่นั่งก็ยังไม่ได้ จะเอนล้มลง แขนขาเกร็ง คอเกร็ง บางรายพูดไม่ได้ หรือพูดไม่ชัด น้ำลายยืด ดังนั้น ถ้าพบว่าบุตรหลานมีพัฒนาการช้าผิดปกติ ควรนำไปปรึกษาแพทย์
►เด็กสมาธิสั้น
การวินิจฉัยโรคนี้ไม่ง่ายเหมือนกระดูกหักหรือปอดบวม เพราะโรคพวกนี้สามารถเห็นด้วยตาหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นจะอาศัยพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การขาดสมาธิ Inattention โดยสังเกตพบว่า
- เด็กจะสนใจงานหรือของเล่นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นหลังจากนั้นก็จะเบื่อ
- ไม่มีความพยายามที่จะทำงานที่ต้องใช้ทักษะ
- มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
- ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเวลาเล่น
- ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดไม่ได้
- ขี้ลืมบ่อย
- วอกแวกง่าย
2. Hyperactivity เด็กจะไม่อยู่นิ่งและควบคุมตัวเองไม่ได้
- เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
- เล่นไปรอบห้อง
- พูดคุยตลอด พูดไม่หยุด
- เมื่อนั่งอยู่ที่เก้าอี้ก็ไม่สามารถนั่งนิ่งโยกไปโยกมา
- เตะสิ่งโน้นสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา
- เคาะโต๊ะส่งเสียงดัง
- รอคอยไม่เป็น
- ชอบขัดจังหวะเวลาที่ผู้อื่นพูดคุยกัน
- บางคนอาจจะทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน
3. Impulsivity เด็กจะหุนหัน เด็กจะทำหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ไม่ได้คิด เด็กอาจจะพูดโต้ตอบโดยที่ไม่คิด ข้ามถนนโดยที่ไม่ดูรถ เด็กจะไม่สามารถรอคอยสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ เด็กอาจจะแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เมื่อไม่พอใจเด็กอาจจะทำลายของเล่นนั้น
การประเมินว่าเด็กคนใดจะเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ แพทย์จะประเมินพฤติกรรมที่เป็นมากเกินไปหรือไม่ เป็นระยะเวลานานหรือไม่ อาการเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเทียบกับเด็กอื่นที่อายุใกล้เคียงกันมีความแตกต่างกันหรือไม่ พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเป็นเพียงตอบสนองต่อเหตุการณ์บางอย่างหรือไม่ พฤติกรรมนั้นเกิดซ้ำๆ กันต่างเวลาและต่างสถานที่
►เด็กออทิสติก
ออทิสติก (Autistic) คือกลุ่มอาการที่แสดงความผิดปกติของพัฒนาการของเด็ก
ลักษณะอาการของเด็กที่เป็นออทิสติกคือ ชอบแยกตัว อยู่กับตัวเอง ไม่พูดหรือติดต่อสื่อสารทางภาษากับคนอื่น และมีปัญหาด้านพฤติกรรม
การจะประเมินว่าเด็กคนไหนเป็นเด็กออทิสติกนั้น ดูได้จากพัฒนาการทางด้านสังคมและพัฒนาการทางด้านการสื่อสารว่าเป็นไปตามวัยหรือไม่ เด็กที่เป็นออทิสติกกระบวนการพัฒนาจะเป็นไปอย่างช้าๆ บางครั้งพ่อแม่อาจจะเข้าใจไปว่าลูกอายุ 3 ขวบ แล้วแต่ยังไม่พูด เพราะว่าลูกขี้อาย ปากหนักจึงไม่ยอมพูด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะออทิสติกไม่สามารถตรวจสอบได้จากอายุของเด็ก
การจะสังเกตว่าลูกเป็นเด็กออทิสติกหรือไม่นั้น ทำได้ตั้งแต่เขายังเล็กๆ โดยสังเกตตามขั้นตอนของการพัฒนาการที่เด็กควรจะเป็น ดังนี้
1. เด็กดูดนมได้ไม่ดี
2. เงียบเฉย ดีเกินไปไม่ชอบ
3. ไม่สนใจให้ใครกอดรัด
4. ไม่แสดงท่าทางหรือส่งเสียงเรียก
5. ไม่สนใจใคร แต่บางรายอาจติดคนมากจนผิดปกติ
6. เด็กไม่สบตา
7. ไม่แสดงท่าทางหรือส่งเสียงเรียก
8. ไม่สนใจที่จะให้ใครอุ้ม
9. ไม่ตอบสนองทางด้านอารมณ์
10. ไม่ลอกเลียนแบบ
11. ไม่ส่งเสียงไม่อ้อแอ้
12. ชี้นิ้วไม่เป็น
13. เรียกให้คนอื่นเล่นด้วยไม่เป็น
14. ท่าทางเฉยเมย ไร้อารมณ์เมื่อถูกชักชวนให้เล่น
15. ไม่แสดงอาการดีใจให้เห็นหรือทักทายคนที่เด็กชอบ หรือหากแสดงออกก็มากเกินไป
16. ผูกพันกับสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ เล่นติดเชือกฟาง ใบไม้ ผ้าอ้อม ถ้าดึงออกจะกรีดร้องอยู่นาน
17. ความรู้สึกของคนเลี้ยงดูว่าเด็กต่างจากคนอื่น หมายถึงผู้เลี้ยงสังเกตได้ว่าเด็กไม่เหมือนคนอื่น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก "มูลนิธิหมอชาวบ้าน"
โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2552
โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2552
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น