การออกแบบรูปภาพ, สัญลักษณ์ และกราฟิค


การออกแบบ
หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิม การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ ซึ่งการออกแบบครอบคลุมถึงการออกแบบวัตถุ ระบบ หรือ ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ และยังรวมไปถึง การคิดเชิงออกแบบ (design thinking) แบบที่ออกมาอาจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง หรือแบบที่เป็นเพียงนามธรรมก็ได้ ผู้ที่ออกแบบจะเรียกว่า นักออกแบบ ซึ่งหมายถึงคนที่ทำงานวิชาชีพในสาขาการออกแบบที่แตกต่างกันไป เช่น นักออกแบบแฟชั่น, นักออกแบบแนวความคิด หรือนักออกแบบเว็บไซต์

การออกแบบนั้นมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาด้าน สุนทรียศาสตร์ ประโยชน์ใช้สอย หลักเศรษฐศาสตร์ และมุมมองสังคมการเมือง ทั้งในสิ่งที่ออกแบบและขั้นตอนการออกแบบ การออกแบบอาจเกี่ยวข้องกับการค้นหาข้อมูล ความคิด การทำแบบจำลอง การปรับแก้แบบแบบมีปฏิสัมพันธ์ และ การรื้อแบบใหม่ (re-design) ขณะที่ความหลายหลายของการออกแบบอาจรวมไปถึง เสื้อผ้า ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ตึกระฟ้า เอกลักษณ์องค์กร การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ หรือแม้กระทั่งกระบวนการออกแบบเอง

การแบ่งประเภทของงานออกแบบ งานออกแบบเป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์ กับวัตถุ ดังนั้นงานออกแบบจึงไม่อาจทำได้เพียงเพื่อความต้องการส่วนตนแต่จะต้อง คำนึงถึงความต้องการของผู้อื่นและสภาพแวดล้อมด้วย สภาพแวดล้อมในที่นี้ คือ สภาพวัตถุ วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในสังคม ซึ่งอาจแบ่งประเภทของงาน ออกแบบกว้าง ๆ ได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. งานออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย




2. งานออกแบบเพื่อการติดต่อสื่อสาร



3. งานออกแบบเพื่อคุณค่าทางความงาม



การออกแบบภาพ คือ การออกแบบภาพประกอบต่างๆ ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้ผู้ใช้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผ่านการจัดองค์ประกอบต่างๆ การใช้สี ขนาดของรูปภาพหรือตัวอักษร การจัดระเบียบข้อความต่างๆ ให้มีความเหมาะสม

องค์ประกอบทั่วไปของ Visual (รูปภาพ)
เส้น (Line) ใช้เพื่อแบ่งหรือสร้างสัดส่วนต่างๆ ของรูปร่างบนภาพ
รูปร่าง (Shape) เกิดขึ้นจากการใช้เส้นและสีต่างๆ
พื้นที่ว่าง (Space) ใช้เพื่อทำให้ภาพเกิดความสมดุล และองค์ประกอบต่างๆ ไม่มากจนเกินไป จนทำให้เกิดความสับสน
ปริมาณ (Volume) ใช้เพื่อแสดงความสมบูรณ์ขององค์ประกอบภาพทั้งหมด
แสง และเงา (Value) ใช้เพื่อสร้างความสมจริงให้ภาพดูมีมิติมากขึ้น
สี (Color) ใช้เพื่อกำหนดธีมหรือดึงดูดความสนใจ
พื้นผิว (Texture) กำหนดพื้นผิวของภาพหรือวัตถุนั้นๆ


หลักการทั่วไปของการออกแบบภาพ

ความเป็นเอกภาพ (Unity)
เป็นหลักการที่เน้นเรื่องของการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ในภาพให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง

ภาพรวมขององค์ประกอบทั้งหมด (Gestalt)
เป็นหลักการที่ว่าด้วยจิตวิทยาการรับรู้ของมนุษย์ ที่จะมองภาพรวมขององค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่รวมกันในภาพ เช่น บ้าน ทุกคนรับรู้ร่วมกันว่าเป็นที่อยู่อาศัย ไม่มีใครบอกว่าเกิดขึ้นจากการใช้เส้นแบบต่างๆ รวมกัน ใช้สีอะไร และพื้นผิวเป็นอย่างไร

การจัดลำดับ (Hierarchy)
จัดตำแหน่งของภาพ หรือตัวอักษรตามลำดับความสำคัญ

ความสมดุล (Balance)
จัดองค์ประกอบของภาพให้มีการกระจายแบบสมดุล เช่น ใช้พื้นที่ว่าง ระยะห่างที่เท่ากัน

ความแตกต่าง (Contrast)
ใช้ความแตกต่างของสี หรือองค์ประกอบอื่นๆ ในภาพ เพื่อเน้นองค์ประกอบนั้นๆ ว่าแตกต่างกันอย่างไร

ขนาด (Scale) 
จัดองค์ประกอบต่างๆ ในภาพด้วยขนาดที่เหมาะสมเพื่อให้ภาพมีความสมบูรณ์

ความโดดเด่น (Dominance)
เลือกใช้ขนาดหรือสีให้มีความโดดเด่น เป็นที่ดึงดูดความสนใจ



เทคนิคออกแบบรูปภาพ

1. จัดวางให้ดี ออกแบบรูป ให้ดูน่ามอง
เป็นหลักการข้อแรกที่นักออกแบบควรนึกไว้เสมอ เพราะคงไม่มีใครชอบรูปที่จัดวางองค์ประกอบระเกะระกะ อัดแน่นเยอะๆ และไม่มีความสมดุล เราควรจัดตำแหน่งวัตถุในรูป ให้มีทิศทางการมองที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้คนมองมีจุดนำสายตาว่าอะไร คือสิ่งที่เขาต้องโฟกัส


แนะนำการใช้สูตร 3 ส่วน 9 ช่อง  ตำแหน่งตรงจุดตัดนั่นแหละ คือจุดที่เราควรจับจุดเด่นมาวาง

2. สิ่งไหนสำคัญ ต้องเด่นไว้ก่อน
แน่นอนว่าในรูปหนึ่งรูป เราจะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่อยากจะเน้น อยากให้เด่น หรือเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญ
ดังนั้น การออกแบบที่ดีควรจะส่งเสริมให้สิ่งเหล่านี้ ‘แย่งซีนเพื่อน’ ดีที่สุด


การแย่งซีนในรูปภาพ ให้เราเลือกเลยว่าต้องการให้สิ่งไหนเด่น ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มขนาดตัวหนังสือ ใช้ตัวหนา ใช้สี จัดวางให้อยู่ตรงกลางหรือโดดเด่นกว่าส่วนอื่นๆ เทคนิคก็คือ ให้วางตำแหน่งเจ้าพวกนี้ บนรูปก่อนเป็นอันดับแรก แล้วค่อยวางส่วนประกอบอื่นๆ เพิ่มเข้ามาให้ได้สัดส่วนที่สวยและสมดุล


3. เลือกสีให้ดี ต้องได้ฟิลลิ่ง
โทนสีคือสิ่งสำคัญมากๆ ในการ ออกแบบ เพราะแต่ละสีนั้นจะสื่ออารมณ์ออกมาได้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น สีแดงจะสื่อถึงความร้อนแรง พละกำลัง ส่วนสีฟ้าจะเป็นความเย็น ความนิ่ง ความสบาย


อีกเทคนิคนึง ในการเลือกใช้สี คือ การใช้คู่สีที่ตรงกันข้าม


เทคนิคนี้ จะช่วยเรื่องการสร้างจุดเด่นให้กับรูปภาพได้ดีทีเดียว ตัวอย่างเช่น สีขาว-ดำ แดง-เหลือง ถ้าอยากให้คำไหนเด่นก็ใส่สีคู่ตรงข้ามกับพื้นหลังไปเลย รับรองดีแน่


ส่วนประกอบที่สำคัญของการออกแบบ ( จุด และ เส้น )
1.จุด [ Dot ] 
หมายถึง รอยกด จุด แต้ม มีลักษณะกลมเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดเป็นพื้นฐานที่สำคัญในงานออกแบบทุกชนิด แม้แต่ตัวอักษร และภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ยัง ประกอบ ด้วยจุดหลายพันหลายหมื่นจุด เมื่อนำจุดมาเรียงกันในตำแหน่งที่เหมาะสมก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรงระยะใกล้ ไกล ทำให้งานออกแบบสร้างความรู้สึกตื่นเต้น และดึงดูดความสนใจ

ลักษณะจุดแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1.1 จุดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
จุดในลายของสัตว์ เช่น แมว หมา กวาง เสือดาว ปลา เปลือกหอย จุดที่พบเห็นทั่วไปในส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ลำต้น ดอกไม้ ใบ ข้าวโพด ปะการัง เมล็ดถั่ว และจุดในแมลงต่างๆ เช่น ผีเสื้อ เต่าทอง เป็นต้น


 1.2 จุดที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น การแต้ม ขีด จิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ดินสอดำ ปากกา พู่กัน วัสดุปลายแหลมหรือเครื่องมืออื่น ๆจุดมีอิทธิพลกับมนุษย์มากในการออกแบบ มนุษย์ออกแบบลูกคิดสำหรับคิดเลข ออกแบบร้อยลูกปัดเป็นสร้อยคอและเครื่องประดับต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากจุดทั้งสิ้น
 

การนำจุดมาใช้ในงานออกแบบสามารถทำได้หลายแบบดังนี้

1. ลักษณะการจัดที่เรียงกัน และทำซ้ำกัน (Repetition )




2. ลักษณะการจัดโดยใช้ช่องจังหวะที่ซ้ำกัน (Rhythm)

 
3. ลักษณะการจัดโดยให้เหมือนกับ สมดุลกันทั้ง 2 ด้าน(Symmetry Balance)
4. ลักษณะการจัดโดยให้สมดุลไม่เท่ากัน 2 ด้าน (Asymmetry Balance)

5. ลักษณะการจัดให้เป็นรูปแบบต่างๆ (Pattern)

 
6.  ลักษณะการจัดในรูปองค์ประกอบศิลป์ (Composition)




2. เส้น ( Line)
เส้น หมายถึง จุดหลาย ๆ จุดเรียงติดต่อกันและเคลื่อนไหวไปในบริเวณว่าง บนแผ่นระนาบ เส้นเกิดจากการลาก ขูด ขีด เขียนด้วยดินสอ ปากกา พู่กัน แปรง เมื่อนำไป ประกอบกันก็จะเกิดเป็น รูปร่าง รูปทรง นอกจากนี้เส้นยังรวมถึงทิศทาง การเกี่ยวโยง การเคลื่อนไหวและพลังอีกด้วย เส้นแต่ละชนิดให้ความรู้สึกทางอารมณ์ดังนี้

2.1 ลักษณะและความรู้สึกที่มีต่อเส้น

2.1.1 เส้นตรงแนวตั้ง ( Straight Line ) คือเส้นที่ลากจากจุดใดจุดหนึ่งตรงไปในทิศทางหนึ่งในแนวตั้งเส้นตรงในแนวตั้งให้ความรู้สึกแข็งแรง แน่นอน ถูกต้อง รุนแรง เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว


 2.1.2 เส้นแนวนอน ( Horizontal Line ) คือเส้นตรงที่ลากจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งในแนวนอน เส้นแนวนอนให้ความรู้สึก กว้าง สงบ นิ่ง ราบเรียบ ถ้าโยง เข้ากับธรรมชาติ ทำให้เรานึกถึงที่ราบ ขอบน้ำตัดกับขอบฟ้าของทะเลยามสงบให้ ความรู้สึกสงบปลอดภัยในอีกมุ่มหนึ่งอาจนึกถึงเกี่ยวกับความตาย


 2.1.3 เส้นเฉียง ( Diagonal line ) คือ เส้นตรงที่ลากในแนวเฉียง เส้นเฉียงให้ ความรู้สึกไม่มั่นคง ไม่แน่นอน เคลื่อนไหวรวดเร็ว เปรียบเส้นเฉียงมีลักษณะเหมือนท่าคนวิ่งหรือคนล้ม ไม่มั่นคง


2.1.4 เส้นตั้งฉาก ( Vertical Line ) คือ เส้นตรงที่ลากมาตั้งฉากกับเส้นแนวนอน เส้นตั้งฉากให้ความรู้สึกมั่นคงแข็งแรง สง่างาม ถ้าเราโยงความรู้สึกให้เข้ากับภาพ ในธรรมชาติเปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นเรียงรายอยู่กลางทุ่งกว้าง ซึ่งมีความสง่างามโดดเด่นและเป็นนิรันดร


2.1.5 เส้นซิกแซ็ก ( Zigzag Line ) หรือ เรียกว่าเส้นหยัก คือ เส้นเฉียง ที่ลากสลับกัน เส้นซิกแซ็กให้ความรู้สึก รุนแรง กระแทกเป็นห้วง ๆ ตื่นเต้น สับสนวุ่นวาย ไม่แน่นอน ต่อสู้ ทำลาย ถ้าเราเขียนเส้นหยักในแนวเฉียง จะหมายถึงสายฟ้าหรือรอยแตก ให้ความรู้สึกไม่สงบ

2.1.6 เส้นโค้ง ( Curved Line ) คือ เส้นที่ลากในลักษณะโค้ง เส้นโค้งให้ความรู้สึกอ่อนหวานนุ่มนวล คลายความกระด้าง ถ้าเปรียบกับธรรมชาติจะให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ไม่สงบนิ่ง เช่น ระลอกคลื่นบนผิวน้ำ และให้ความรู้สึกอึดอัด บางครั้ง เราเรียกเส้นโค้งว่าเส้นเหลว โฮการ์ด เรียกเส้นโค้งแบบตัวเอส ( S ) ว่าเส้นแห่งความอ่อนช้อย ซึ่งเกิดจากการสังเกตทรวดทรง ของผู้หญิง และเราอาจเปรียบเส้นโค้งว่า เป็นเส้นแห่งสตรีเพศ

 2.1.7 เส้นคลื่น ( Undulating Line ) คือ เส้นโค้งที่สลับขึ้นลง เส้นคลื่นให้ ความรู้สึกเคลื่อน ไหวช้า ๆ สุภาพอ่อนโยน สบายนุ่มนวลเย้ายวน



2.1.8 เส้นโค้งก้นหอย ( Spiral line ) คือ เส้นโค้งวนจากวงนอกเข้าวงใน เป็นรูปก้นหอย ให้ความรู้สึกงุนงง เคลื่อนไหวหมุนเวียนไปมา เส้นเป็นองค์ประกอบเบื้องต้นที่ใช้ลากเพื่อเป็นสื่อให้เกิดภาพ เส้นง่าย ๆ เกิดจากการลากโดยมือเด็กกับเส้นที่เขียนโดยมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จะมีลักษณะเป็นสากล ที่ทุก คนเข้าใจได้



ลักษณะการแสดงออกทางความรู้สึก การใช้เส้นแบบต่าง ๆ

1. แบบขัดแย้ง

2. แบบต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าถ้าเส้นมีความหนาบางไม่เท่ากัน จะให้ความรู้สึกพริ้ว อ่อนหวาน แต่ถ้าเส้นเท่า กันตลอดจะทำให้งานดูแข็งทื่อและให้ความรู้สึกน่าเบื่อ


3. แสดงทิศทางในภาพ ทิศทางเฉียงเพื่อสร้างความลึกเพื่อเน้นจุดสนใจ

 

แนวทางการออกแบบ และสร้างภาพต่างๆ

การออกแบบภาพต้นไม้







การออกแบบภาพคน

การออกแบบภาพสัตว์








การออกแบบภาพสิ่งของ









การออกแบบสัญลักษณ์และเครื่องหมาย (Symbol & Sign)
เป็นการออกแบบเพื่อสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ ทำความเข้าใจกับผู้พบเห็น โดยไม่จำเป็น ต้องมีภาษากำกับ เช่น ไฟแดง เหลือง เขียว ตามสี่แยก หรือเครื่องหมายจราจรอื่นๆ

เครื่องหมาย (Symbol) คือสื่อความหมายที่แสดงความนัยเพื่อเป็นการชี้ เตือน หรือกำหนดให้สมาชิกในสังคม รู้ถึง ข้อกำหนด อันตราย เช่น เครื่องหมายจราจร
เครื่องหมายสถานที่
เครื่องหมายที่ใช้กับเครื่องกล
เครื่องหมายที่ใช้กับเครื่องไฟฟ้า
เครื่องหมายตามลักษณะสิ่งของ เครื่องใช้ ฯลฯ

สัญลักษณ์ คือสื่อความหมายที่แสดงความนัย เพื่อบอกให้ทราบถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีผลในทางปฏิบัติเหมือน เครื่องหมาย แต่มีผลทางด้านการรับรู้ ความคิด หรือทัศนคติ ที่พึงมีต่อสัญลักษณ์นั้นๆ เช่น
สัญลักษณ์ของชาติ เช่น ธงชาติ ฯลฯ
สัญลักษณ์ขององค์กรต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา กระทรวง สมาคม พรรคการเมือง ฯลฯ
สัญลักษณ์ของบริษัทห้างร้านทางธุรกิจ เช่น ธนาคาร บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ
สัญลักษณ์ของสินค้างและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตจำหน่าย ตามท้องตลาด ฯลฯ
สัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ในสังคม เช่น การกีฬา การร่วมมือในสังคม การทำงาน ฯลฯ

ในการออกแบบสัญลักษณ์ ให้บรรลุเป้าหมาย ผู้ออกแบบควรคำนึงถึงหลักสำคัญ 3 ประการ
1. ความหมายของสัญลักษณ์จะต้องเกี่ยวกับสุนทรียภาพ( Aesthetic Form) คือความงดงามของรูปแบบสัญลักษณ์ไม่ว่าจะเป็น Representation หรือ Abstract ก็ตาม
2. ต้องเหมาะสมกับกาลเวลายุคสมัย ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นความนิยมชั่วคราว
3. ต้องนำไปใช้ประโยชน์หลายประการ สามารถลอกเลียนด้วยวิธีต่างๆ เช่นการย่อหรือขยายได้

แนวคิดในการออกแบบสัญลักษณ์ ควรยึดหลักกว้าง ๆ ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับความงาม
2. แนวคิดเกี่ยวกับความหมาย
3. แนวคิดในการสร้างความเด่นน่าสนใจ
4. ความเหมาะสมในการออกแบบและใช้งาน

วิธีการออกแบบสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ในทุกลักษณะที่ทำการออกแบบ ควรพิจารณาให้ชัดเจนก่อนว่างานออกแบบนั้นมีจุดประสงค์อย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานออกแบบสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยง่ายมีความชัดเจน สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี ภาพเครื่องหมายสามารถนำไปใช้งานได้หลายลักษณะมีรูปแบบที่น่าเชื่อถือ เกิดความเชื่อมั่นยอมรับและ ความเป็นเอกลักษณ์

ขั้นตอนในการออกแบบ
1. ศึกษารวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวคิดในการออกแบบ
2. กำหนดแนวคิดหลักโดยใช้ข้อมูลเบื้องต้นเป็นบรรทัดฐาน
3. เลือกหาสิ่งดลใจในการออกแบบ อาจจะเป็นรูปทรงทางเรขาคณิต รูปทรงอิสระ หรืออื่น ๆ
4. กำหนดรูปร่างภายนอก
5. ร่างภาพเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมโดยร่างไว้หลาย ๆ แบบ
6. ลดทอนรายละเอียด
7. ร่างแบบเขียนสี
8. เขียนแบบจริง

ตัวอย่างการออกแบบเครื่องหมายจราจร

ตัวอย่างเครื่องหมายสถาบัน, สมาคม, มูลนิธิ




ตัวอย่างการออกแบบกลุ่มกิจกรรม






ตัวอย่างกลุ่มเครื่องหมายการค้า กลุ่มบริษัท



ตัวอย่างกลุ่มเครื่องหมายสถานที่






















































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวาดภาพทิวทัศน์ (Landscape)

มารู้จักภาพทัศนียภาพ - Perspective

การวาดภาพทิวทัศน์แบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถวาดได้