สื่อสิ่งพิมพ์ในงานประชาสัมพันธ์ : "การออกแบบโปสเตอร์"

สื่อสิ่งพิมพ์ในงานประชาสัมพันธ์ : การออกแบบโปสเตอร์



โปสเตอร์ (poster) คือภาพขนาดใหญ่พิมพ์บนกระดาษ ออกแบบเพื่อใช้ติดหรือแขวน บนผนังหรือกำแพง โปสเตอร์อาจจะเป็นภาพพิมพ์ หรือภาพเขียนหรืออาจจะเป็นอย่างใดอย่าง หนึ่งโดยเฉพาะจุดประสงค์ก็เพื่อให้เตะตาผู้ดู และสื่อสารข้อมูล โปสเตอร์อาจจะใช้สอยได้หลาย ประการ แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ในการเผยแพร่เพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการโฆษณางาน แสดงศิลปะ, งานดนตรี หรือภาพยนตร์, การโฆษณาชวนเชื่อ, หรือในการสื่อสารที่ต้องการสื่อสาร ความเชื่อต่อคนกลุ่มใหญ่

โปสเตอร์ (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีบทบาทต่อการประชาสัมพันธ์มากสื่อหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะโปสเตอร์เป็นสื่อที่สามารถเผยแพร่ได้สะดวกกว้างขวาง สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุก พื้นที่ สื่อสารกับผู้บริโภคได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในตัวของสื่อเป็น อย่างดี โปสเตอร์ที่นำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ มีจุดประสงค์เพื่อบอกกล่าว เผยแพร่ให้ผู้ดู มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตาม ไม่เน้นในการส่งเสริมการขายสินค้าของผู้จัดทำ แต่จะเน้นหนัก ไปทางการสร้างภาพพจน์ขององค์กร ให้เป็นที่ยอมรับเกิดความฝังใจเชื่อถือและศรัทธา นอกจากนี้ ยังมีการใช้เพื่อย้ำเตือนใจกลุ่มประชาชนเป้าหมายด้วย



วัตถุประสงค์ของการใช้โปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์
1. เพื่อบอกกล่าวหรือให้คำแนะนำ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2. เพื่อเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย ให้เข้าร่วมกิจกรรมที่องค์กรจัดขึ้น
3. เพื่อโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายให้เห็นคล้อยตาม
4. เพื่อปลุกเร้า ให้กลุ่มเป้าหมาย ตระหนักถึงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
5. เพื่อย้ำเตือน กลุ่มเป้าหมายให้ระลึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
6. เพื่อสร้างความจดจำ ให้เกิดขึ้น
7. เพื่อให้ความรู้ในสาระอันเป็นประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติ



ประเภทของโปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้คือ

1. เพื่อขอความสนับสนุน เป็นการจัดทำเพื่อชักชวนให้ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย สนับสนุน เห็นด้วย ให้ความร่วมมือกับองค์กร ในความคิด เรื่องราว และประเด็นต่างๆ
2. เผยแพร่ข่าวสาร เกี่ยวกับนโยบาย หรือกิจกรรมขององค์กร เพื่อเป็นการสร้าง ภาพพจน์ ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กรโดยหวังให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ทราบถึง ผลงาน บทบาท ความส าคัญ และความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคม
3. เพื่อส่งเสริมสังคม อันเป็นการมุ่งเน้นที่จะให้ความคิดอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยดีมีความสุข และมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ซึ่งองค์กรผู้จัดทำจะได้ ประโยชน์ทางอ้อมจากการประชาสัมพันธ์นี้คือ ทำให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เกิดทัศนคติที่ดีต่อ องค์กรว่ามีความรับผิดชอบ และสนใจความเป็นไปของสังคม ซึ่งจะนำมาซึ่งความ ศรัทธา จาก ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในที่สุด



ข้อดีของการใช้โปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์
1. สามารถกำหนดสถานที่ของการเผยแพร่ได้อย่างแน่นอน
2. สามารถดึงดูดความสนใจของประชาชนได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีสีสันสวยงาม มี ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในทำเลที่เด่นและสะดุดตา
3. ช่วยย้ำเตือนความคิดเห็นบางอย่างแก่ประชาชนเป้าหมาย
4. มีราคาถูก
5. ผลิตได้ง่าย
6. เผยแพร่ได้ง่าย โดยติดได้ทั่วไป และโอกาสที่จะใช้มีมาก



ข้อจำกัดของการใช้โปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์
1. ไม่คงทนถาวร
2. ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้มาก
3. เมื่อหมดอายุ ก็จะเกิดความรกตา หรือสร้างความสกปรก อันจะเป็นผลลัพธ์ในทาง ลบ แก่หน่วยงานได้

องค์ประกอบของโปสเตอร์


1. พาดหัว(Headline) พาดหัวหรือหัวเรื่อง เป็นสิ่งที่สำคัญของโปสเตอร์ เพราะช่วย ดึงดูดความสนใจ หรือ ติดตามดูรายละเอียดอื่นๆ ของข้อความในโปสเตอร์ พาดหัวหรือหัวเรื่อง อาจแสดงด้วย ภาพ หรือ ข้อความ หรือทั้งภาพ และข้อความก็ได้ แต่ส่วนมากจะใช้ ข้อความที่มีขนาดใหญ่ กว่าข้อความอื่น ถ้าข้อความมีความยาวมาก อาจจะแบ่งเป็น หัวเรื่องรอง (Subhead line)

พาดหัวของโปสเตอร์ มีลักษณะ ดังนี้
1.1 มีข้อความสั้น กะทัดรัดได้ใจความ สื่อความหมายได้เร็ว
1.2 มีความกระจ่าง สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายได้
1.3 มีความเหมาะเจาะ ตอบสนองความต้องการของผู้ที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายได้
1.4 มีความน่าสนใจเพื่อเรียกร้องให้ผู้ที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายสนใจ โดยใช้ หลักการทางจิตวิทยาและการใช้ภาษา 
1.5 มีเพียงแนวคิดเดียว ในโปสเตอร์แต่ละแผ่น
1.6 มีความน่าเชื่อถือคือ ข้อความที่กล่าวอ้าง ต้องมีน้ำหนัก น่าเชื่อถือ
 
2. พาดหัวรอง (Subhead line) 
พาดหัวรอง (Subhead line) นิยมใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่รองจากพาดหัว ทำหน้าที่ ในการเชื่อมโยงพาดหัว ไปยังเนื้อเรื่องในโปสเตอร์ใช้ในกรณีที่พาดหัวไม่สามารถจะให้ รายละเอียดได้เพียงพอจึงจำเป็นที่จะต้องมีการขยายความให้กระจ่างขึ้น

3. ข้อความ (Body Copy) 
ข้อความ คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหารายละเอียด เพิ่มเติมจากพาดหัวของ โปสเตอร์ฉบับนั้นๆ ข้อความจะสนับสนุนเนื้อหาของโปสเตอร์โดยส่วนรวม มีการคัดเลือกอย่าง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ หรือเข้าใจไปได้หลายทาง และใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัด อักษรชัดเจน อ่าน ง่าย เข้าใจได้ทันที ตอบสนองความต้องการใคร่รู้ของ ผู้อ่าน และมองเห็นได้แต่ไกล

4. ภาพประกอบ(illustration) 
ภาพประกอบ คือ ส่วนที่จะมาเสริมหรือขยายพาดหัว ตลอดจนสร้างความเข้าใจ เพิ่มขึ้นจากข้อความ ช่วยสร้าง หรือดึงดูดความสนใจ และภาพที่น ามาใช้ควรเป็นภาพที่ ดูง่าย สามารถเข้าใจได้ทันทีเน้นจุดสนใจในภาพ เพียงจุดเดียว และมองเห็นได้ในระยะไกล สามารถสื่อความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างแจ่มชัดรวมทั้งสามารถสร้าง ความจดจำให้แก่ผู้รับได้ด้วย

5. ส่วนลงท้าย(Ending)
5.1 ชื่อหรือสัญลักษณ์ขององค์การผู้เผยแพร่ (Identification)
5.2 สถานที่ตั้งหรือสถานที่ติดต่อขององค์กรผู้ผลิต
5.3 คำขวัญ หรือ สโลแกน (Slogan)



ข้อควรคำนึงถึงในการออกแบบโปสเตอร์
1. ควรเป็นแผ่นเดียวโดดๆ สามารถนำไปติดบนพื้นผิวใดก็ได้
2. ควรมีภาพประกอบ และข้อความ ที่บ่งบอกถึง อะไร ที่ไหน เมื่อใด ใช้ข้อความ กะทัดรัดเข้าใจง่าย ชัดเจนไม่คลุมเครือ หรือเข้าใจไปได้หลายทาง และใช้ข้อความที่สามารถเข้าใจ ได้ทันทีแสดงแนวคิด หลักและเรื่องราวเพียงอย่างเดียว
3. การวางตำแหน่งภาพประกอบ และข้อความ ต้องประสานส่งเสริมซึ่งกันและกัน และ ง่ายแก่การจดจำ(ควรมีคำขวัญหรือสโลแกน)
4. ตัวอักษรที่ใช้ควรเด่น สะดุดตาค านึงถึงระยะห่างทางการอ่าน และขนาดของตัวอักษร ควรแตกต่างกัน ตามหน้าที่ เช่น ตัวหัวเรื่อง หรือพาดหัว ควรมีขนาดใหญ่กว่าข้อความ
5. ภาพหรือข้อความที่เสนอ ต้องมีขนาดใหญ่ทั้งนี้เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ง่าย และ ขนาดของโปสเตอร์ ต้องปรับให้เหมาะสมกับ สถานที่ตั้งโปสเตอร์ด้วย
6. มีโครงสร้างชัดเจน คือ การใช้สีที่เด่นชัด สะดุดตา ไม่มีลีลาเส้นสายหรือลวดลาย สับสน ดูแล้วเข้าใจใน โครงสร้างนั้นๆ ได้ทันทีสามารถแยกภาพกับตัวอักษร ที่ต้องการเสนอได้ ชัดเจน มีความเหมาะสมกับเนื้อหาและจิตวิทยาในการใช้สีด้วย 
7. คำนึงถึงหลักในการออกแบบ และจัดหน้าด้วย 
8. ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก























ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวาดภาพทิวทัศน์ (Landscape)

มารู้จักภาพทัศนียภาพ - Perspective

การวาดภาพทิวทัศน์แบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถวาดได้