บทความ

Color of Fun : EP.1 - สีโปสเตอร์ (Poster Color)

รูปภาพ
Color of Fun : EP.1 ตอนนี้จะนำเสนอเรื่องราวของสีโปสเตอร์ให้ได้รู้จักกัน เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานในการที่จะนำไปใช้ในการระบายสีโปสเตอร์ขั้นตอนต่อๆ ไป สีโปสเตอร์ เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด การใช้งานเหมือน กับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจาง สีโปสเตอร์เป็นที่สีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มี เนื้อเรียบได้ และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค  สามารถระบายสีทับกันได้ มักใช้ในการวาดภาพ ภาพประกอบเรื่อง ในงานออกแบบต่างๆ ได้สะดวก ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว หรืออาจจะกล่าวได้ว่า สีโปสเตอร์เป็นสีน้ำชนิดหนึ่งเนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นิยมบรรจุขวด มีเนื้อสีข้นค่อนข้างหยาบ และมีคุณสมบัติทึบแสง เพราะเติมแป้งหรือเนื้อสีขาวลงไป เรียกว่า “สีแป้ง” คุณสมบัติของสีโปสเตอร์ การเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์สามารถวาดภาพให้มีน้ำหนักแสงเงาได้เช่นเดียวกับการวาดภาพด้วยสีน้ำ สีโปสเตอร์เป็นสีที่มีลักษณะขุ่นทึบ เนื้อสีมีลักษณะคล้ายแป้ง ซึ่งแตกต่างจากลักษณะของสีน้ำที่โปร่งใส สีโปสเตอร์เหมือนกันกับสีน้ำตรงที่เ

พระนฤตยะ คณปติ (Nritya Gannapati)

รูปภาพ
พระนฤตยะ คณปติ (Nritya Gannapati) ปางนาฏศิลป์ เทพเจ้าแห่งลีลาการร่ายรำ และศิลปะการแสดง "โอม ศรี นฤตยะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีเหลืองทอง มี 4 กร เป็นนักเต้น ร่ายรำ ระบำฟ้อน เป็นนักแสดงที่สร้างความบันเทิง และความสุขให้กับชาวโลก ประทับยืนเข่าขวาเหยียบบนดอกบัว เหมาะสำหรับตั้งบูชาในวิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงเรียนสอนเต้นรำ บัลเล่ต์ โยคะดัดตน โรงเรียนสอนการแสดง โรงละคร โรงถ่ายทำภาพยนตร์ และสถานบันเทิงต่างๆ ตามความเหมาะสม หรือผู้ที่อยู่ในสายงานด้านนาฏศิลป์ ด้านศิลปะการแสดงต่างๆ ควรบูชา ภาพวาดโดย : พงศ์ประนาฏต เพ็ชรัตนกูล เทคนิค : สีน้ำบนกระดาษ ขนาด : 26 X 36 ซม.

พระเจ้าเก้าตื้อ : พระพุทธรูปสำคัญของล้านนา

รูปภาพ
พระเจ้าเก้าตื้อ หรือ  “พระเจ้าสิริทรงธรรม จักรพรรดิราช”   เป็นพระพุทธรูปสำคัญของล้านนา กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุด และงดงามที่สุดในศิลปะล้านนา ประดิษฐานในอุโบสถ วัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 3.89 เมตร ศิลปะล้านนาอิทธิพลสุโขทัย (พ.ศ. 2047) หรือที่เรียกกันว่า “ศิลปะเชียงแสนสิงห์สอง” ประทับบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระโอษฐ์อมยิ้ม ริมฝีพระโอษฐ์เป็นคลื่นเหมือนศิลปะสุโขทัยพระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก หน้าตักกว้าง ลักษณะสังฆะฏิเป็นแผ่นใหญ่ และยาวจรดพระนาภี อาจบ่งบอกถึงรูปแบบศิลปะอยุธยาที่ผสมผสานในพระพุทธรูปด้วย ประวัติพระเจ้าเก้าตื้อ ปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า พระเมืองแก้ว หรือ พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พ.ศ. 2038 – 2068) โปรดให้สร้างพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ เพื่อจะนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร โดยเริ่มทำการหล่อในวันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีชวดฉอศก จุลศักราช

พระธันวันตริ เทพเจ้าแห่งอายุรเวท แพทย์แห่งสวรรค์

รูปภาพ
พระธันวันตริ เทพเจ้าแห่งอายุรเวท การแพทย์แห่งสวรรค์ และเทพทั้งปวง ความเชื่อของฮินดู ว่าเป็นหนึ่งในอวตารของ พระวิษณุ พระนามของพระองค์ปรากฏในปุราณะว่าเป็นเทพเจ้าแห่งอายุรเวท พระธันวันตริ เกิดขึ้นมาจากเกษียรสมุทร ระหว่างการกวนเกษียรสมุทรพร้อมกับน้ำอมฤต (น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้กลายเป็นอมตะ) โดยทั่วไปชาวฮินดูนิยมกราบไหว้ และบูชาเพื่อให้คุ้มครองสุขภาพ และหายจากอาการเจ็บป่วยและโรคต่างๆ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลธันเตรัส (Dhanteras) หรือ ธันวันตริ ตรโยทศิ (Dhanwantari Trayodashi) ซึ่งรัฐบาลอินเดียประกาศให้เฉลิมฉลองเป็น "วันอายุรเวทแห่งชาติ" พระธันวันตริ มี สี่กร มือถือหม้อน้ำอมฤต, จักร, สังข์ และ ชลุกา (ปลิง) โดยมีความเชื่อว่า น้ำอมฤต กับ ชลุกา (ปลิง) ใช้ในการรักษาโรค การสวดภาวนา กล่าวว่า  "โอม ศรี ธัน วัน ตริ นะ มะ หะ" กล่าว 3 ครั้ง ขอพระบารมีองค์ธันวันตริ ช่วยปัดเป่า โรคภัยไข้เจ็บ ที่เป็นอยู่ ให้หายเป็นปกติ ด้วยเทอญ ภาพโดย : ครูช้าง พงศ์ประนาฏต เรื่อง : เรียบเรียงมาจากอินเตอร์เน็ต

ศิลปะเพื่อการปลดล๊อคจิตใจ

รูปภาพ
เมื่อวันที่ 27-29 ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปทำกิจกรรมศิลปะเล็กๆ ใน "งานวัดหรรษา สืบผญ๋า วิถีคนเมืองหล่ะปูน" ซึ่งจัดโดยสำนักงานวัฒนธรรมลำพูน กิจกรรมศิลปะในวันนี้ ได้ให้เด็กๆ ได้ฝึกวาดพระพิฆเนศกัน ใหม่ๆ เด็กๆ ก็อาจจะงงๆ อะไรคือพระพิฆเนศ แต่พอผมได้เล่าให้เด็กๆ ฟัง ทุกๆ คนก็ทำได้ดี แต่ละคนมีความตั้งใจสูงมากสำหรับการทำชิ้นงานให้สำเร็จ กิจกรรมนี้มองดูแล้วอาจจะดูคลุกดิน คลุกทราย อยู่ในตลาดตามงานวัดไปหน่อย หลายๆ คนอาจจะมองว่าผมกำลังดึงศิลปะลงต่ำ แต่ผมกลับมีมุมมองอีกอย่างหนึ่งว่า มันเป็นวิธีการเข้าถึงและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ เหล่านี้ พวกเขาวาดรูปกันอย่างมีความสุข มีผลงานที่ภาคภูมิใจกลับไปบ้าน แม้จะเป็นเพียงกิจกรรมศิลปะเล็กๆ ในตลาดงานวัด แต่มันกลับสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ยิ่งใหญ่สำหรับเด็กๆ อีกหลายๆ คน เด็กบางคนบอกว่าเพิ่งวาดรูปครั้งแรก เด็กบางคนก็บอกว่าหนูวาดรูปไม่ได้ ไม่กล้าวาด แล้วในวันนี้เด็กๆ ก็ได้ทะลายกำแพงที่กั้นพวกเค้าไว้กับงานศิลปะลงอย่างสิ้นเชิง เพราะเค้าสามารถทำในสิ่งที่พวกเค้าคิดว่าทำไม่ได้มาตลอดเวลา วันต่อมา บนถนนสายวัฒนธรรมลำพูน กับการกา