เทพเจ้าเห้งเจีย "ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว" 大聖佛祖
เห้งเจีย ซุนหงอคง Sun Wukong
สถานที่เกิด เขาฮัวกั่ว
ความสามารถ มีความเป็นอมตะ
แปลงกายได้ 72 ร่าง
มีพาหนะ เป็น เมฆวิเศษ ร่างกายที่ทนทาน
ตามองทุกสิ่งเป็นความจริง
อาวุธ กระบองวิเศษ
อาจารย์ของเห้งเจียคือ พระถังซัมจั๋ง
ที่มา ไซอิ๋ว ศตวรรษที่ 16
ภิกษุผู้จาริก Magic Monkey หนึ่งในตัวละครเอกเรื่องไซอิ๋ว
เจ้าพ่อเห้งเจีย หรือซุนหงอคง เป็นเทพผู้ประทานความสุข และเป็นผู้กำจัดเหล่าปีศาจร้าย ชนชาวจีนจึงนิยมกราบไหว้ และบูชามาก ปัจจุบันศาลเจ้าหลายแห่งจะมีรูปเคารพของเทพวานร หรือเจ้าพ่อเห้งเจียเพื่อไว้ให้คนที่เลื่อมใสศรัทธามีโอกาสเข้าไปสักการะขอพร
ตำนาน เจ้าพ่อเห้งเจีย กล่าวกันว่า กำเนิดจากหินชนิดหนึ่งที่ถูกแสงสุริยัน จันทรา อาบมานานกว่าพันปี และแล้ววันหนึ่งก็แตกออก มีลิงตัวหนึ่งกระโดดออกมาจากหินก้อนนั้น เจ้าลิงตัวนั้นได้บุกขึ้นไปเขาฮัวกั่วซาน(เขาผลไม้)ซึ่งมีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และตั้งตัวเป็นใหญ่มีฉายานามว่า "มุ้ยเกาอ๋อง"
วันหนึ่ง มุ้ยเกาอ๋อง เห็นลิงในฝูงตัวหนึ่งตายลงด้วยความแก่ชรา จึงเกิดความวิตก และคิดจะหาทางแก้ไขที่จะทำให้ตนเองไม่ต้องเจ็บ หรือตาย จึงออกจากฝูงเดินทางเสาะแสวงหาไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็พบกับเซียน "โผเถโจ๊ซือ"(สุภูติ) และได้ฝึกวิชาคาถาอาคมต่างๆ จนมีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงกายได้ 72 ร่าง กระโดดตีลังกาคราหนึ่ง ไปได้ไกลกว่า 300 ลี้ พร้อมกับได้ชื่อใหม่ ว่า "ซุนหงอคง" เมื่อฝึกวิชาสำเร็จแล้วก็เกิดลำพองใจ เกิดร้อนวิชาออกอาละวาดไปทั่ว ไม่เว้นแม้กระทั่งสวรรค์ หรือบาดาลทำให้ 3 โลกปั่นป่วนไปหมด
ร้อนถึง เง็กเซียนฮ่องเต้ ต้องส่งทหารสวรรค์ และเทพต่างๆ ไปจับซุนหงอคง นอกจากจะจับไม่ได้แล้วกลับถูก ซุนหงอคง เล่นงานจนแตกกระจายไปหมาด ในที่สุด เง็กเซียนฮ่องเต้ ต้องยอมแพ้ให้ยก ซุนหงอคง ขึ้นเป็นใหญ่ พร้อมแต่งตั้งให้เป็น "มหาเทพฉีเทียนต้าเซิ้น"
แต่หงอคงก็ยังเหิมเกริมไม่เลิกในที่สุดก็ถูก องค์พระยูไล เสด็จลงมากำราบด้วยตัวเอง องค์พระยูไลจับ หงอคง ไว้ให้ภูเขาหินทับขังนานถึง 500 ปี และกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะช่วยออกมาได้คือ พระถัมซังจั๋ง และซุนหงอคง ต้องยอมออกบวชเป็นลูกศิษย์ รับใช้ พระถังซัมจั๋ง เดินทางไปยังชมภูทวีป(ประเทศอินเดีย) และต้องคุ้มครอง พระถังซัมจั๋ง ให้ปลอดภัยไปตลอดทางด้วยจึงจะเป็นอิสระ
แต่หงอคงก็ยังเหิมเกริมไม่เลิกในที่สุดก็ถูก องค์พระยูไล เสด็จลงมากำราบด้วยตัวเอง องค์พระยูไลจับ หงอคง ไว้ให้ภูเขาหินทับขังนานถึง 500 ปี และกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะช่วยออกมาได้คือ พระถัมซังจั๋ง และซุนหงอคง ต้องยอมออกบวชเป็นลูกศิษย์ รับใช้ พระถังซัมจั๋ง เดินทางไปยังชมภูทวีป(ประเทศอินเดีย) และต้องคุ้มครอง พระถังซัมจั๋ง ให้ปลอดภัยไปตลอดทางด้วยจึงจะเป็นอิสระ
เมื่อ พระถังซัมจั๋ง รับ หงอคง เป็นศิษย์แล้ว ได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "เห้งเจีย" หรือ "ซุนเห้งเจีย" (孫行者) แต่ เห้งเจีย ก็ยังคงติดนิสัยเดิมๆ คือ ใจร้อน ห่าม ดื้อรั้น ไม่เชื่อฟังพระถังซัมจั๋ง พระถังซัมจั๋ง มีไม้ตายที่ปราบพยศ เห้งเจีย คือ รัดเกล้า ที่ได้รับประทานจาก พระโพธิสัตว์กวนอิม ที่รัดอยู่กับหัวของ เห้งเจีย
เมื่อ เห้งเจีย เริ่มพยศเมื่อไหร่ พระถังซัมจั๋ง ก็จะสวดมนต์ เห้งเจีย จะเจ็บปวดมาก รัดเกล้า อันนี้จะหายไปเมื่อภารกิจการเดินทางไปชมภูทวีปเสร็จสิ้นแล้ว
ตลอดระยะเวลาการเดินทางต้องผจญกับอุปสรรคนานับประการ โดยเฉพาะเหล่าปีศาจที่มักปลอมตัวมาหลอกลวงให้เข้าใจผิด โดยเฉพาะกับ พระถังซัมจั๋ง ซึ่ง เห้งเจีย มักจะมองปีศาจออกก่อนทุกครั้ง และลงมือทำร้ายไปก่อน จึงสร้างความขัดแย้งให้กับศิษย์อาจารย์คู่นี้ไปตลอด ว่ากันว่า เป็นการเจตนาสร้างความขัดแย้งของตัวละคร ซึ่งสะท้อนถึงบุคคลิกของบุคคลในลักษณะต่างๆ
อาวุธสำคัญของ เจ้าพ่อเห้งเจีย คือ กระบองวิเศษ ปกติจะเก็บไว้ในรูหู สามารถยืด-หดได้ (กระบองวิเศษ เดิมเป็นเสาค้ำมหาสมุทร ของเจ้าสมุทรทะเลใต้ หรือทะเลตงไห่) และยังมีพาหนะเป็นเมฆวิเศษ
เจ้าพ่อเห้งเจีย เป็นที่นับถือกันในเรื่องของ ความเฉลียวฉลาด ปฏิภาณ ไหวพริบ และความกล้าหาญ ได้รับการเคารพนับถือว่า ถ้าผู้ใดนับถือพระองค์ท่าน ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกกรณี และหาหนทางแก้ไขความเดือดร้อนได้ทุกเรื่อง เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการเก็งกำไร
ชื่อ หรือฉายา เจ้าพ่อเห้งเจีย มีเรียกมากมายดังนี้
เฉียกเกา (石猴) แปลว่า "ลิงหิน" อ้างถึงชาติกำเนิดดั้งเดิมของของเห้งเจียซึ่งเกิดจากหินที่อาบแสงอาทิตย์แสงจันทร์มานับพันปีบนยอดเขาฮวยก๊วยซัว
บี้เกาอ๋อง (美猴王) แปลว่า พญาวานรโสภา เรียกโดยย่อว่า เก้าอ๋อง หมายถึง งดงาม, สง่างาม, น่ารัก และยังหมายความว่าหลงตัวเอง ซึ่งอ้างอิงถึง อัตตาของหงอคง คำว่า "เกา" ซึ่งแปลว่า ลิง ยังเน้นถึงนิสัยที่ดื้อรั้น และเจ้าเล่ห์ของ หงอคง ด้วยเช่นกัน
ซุนหงอคง (孫悟空, ซุนอู้คง) เป็นชื่อที่ อาจารย์คนแรก ของ หงอคง ตั้งให้ แซ่ "ซึง" ("ซุน") แปลว่า ลิง, ค่าง คำว่า "หงอคง" ("อู้คง") มีความหมายว่า ตื่นรู้ในความว่าง ชื่อนี้ออกเสียงไปต่างๆ กัน ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ซุนอู้คง (จีนกลาง) ซึงหงอคง (กว้างตุ้ง, ฮกเกี้ยน) ซนโอกง (เกาหลี) ซุนโกคู (ญี่ปุ่น) เป็นต้น
เบี่ยวเบ้อุน (弼馬溫) ตำแหน่ง คนเลี้ยงม้าสวรรค์ กล่าวกันว่า หงอคง ได้ตำแหน่ง เบี่ยวเบ้อุน จาก เง็กเซียนฮ่องเต้ หลังจากที่เขาไปอาละวาดบนสวรรค์
บนสวรรค์ครั้งแรก โดยครั้งนั้นเขาได้รับคำมั่นว่าจะแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งของเทพขั้นสูง แต่เมื่อความจริงปรากฏว่า เบี่ยวเบ๊อุน เป็นตำแหน่งชั้นต่ำสุดในสวรรค์ ซึ่ง หงอคง ก็โกรธ จึงทำลายคอกม้า ปล่อยม้าอาละวาดบนสวรรค์ แล้วกลับมาอยู่เขาฮวยก๊วยซัว ศัตรูของ หงอคง มักเรียก หงอคง ด้วยชื่อนี้เพื่อเป็นการเยาะเย้ย
เห้งเจีย (ตัวเต็ม : 行者 , ตัวย่อ: 行者)
สิงเจ่อ หรือ เห้งเจี้ย (行者 ) / ซุ่นอู้โค้ง (จีนกลาง) / ซึงหงอคง (แต้จิ๋ว) / ซึ้นโหง่วค้ง (ฮกเกี้ยน) / ซึ้งอือโฮง (กวางตุ้ง)
เจ่เทียนไต่เซ่ง 齊天大聖 ฉีเทียนต้าเชิ่ง หรือ ชีเทียนไต้เสีย (齊天大聖) แปลว่า"ผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน"
โต้วจั้นเชิ่งฝัว หรือ โต่วเจี่ยงเส่งฮุด (鬥戰勝佛) แปลว่า "พุทธะผู้มีชัยในการยุทธ"
ต้าเชิ่งฝัวจู่ หรือ ไต๋เสี่ยฮุกโจ้ว (大聖佛祖) เป็นพระนามที่ได้รับ เมื่อบรรลุมรรคผล เป็น พระโพธิสัตว์ แล้ว
(อีกแหล่งข้อมูลที่เรียบเรียงมา)
ผู้คนบนโลกมนุษย์ รู้จัก เทพเจ้าลิง ในนาม เห้งเจีย มากกว่าชื่ออื่น แต่ชื่อ เจเทียนไต่เส่ง / ฉีเทียนต้าเสิ้ง 齊天大聖 หรือ ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว 大聖佛祖 ล้วนเป็นชื่อเรียกของ เห้งเจีย เช่นเดียวกัน
ตามประวัตินั้น เห้งเจีย มีการกำเนิดที่แตกต่างจากวานรทั่วไป กล่าวคือ ณ ดินแดนอันไกลโพ้น มีเมืองชื่อว่า อ้าวไหลกั๋ว ซึ่งตั้งอยู่ริมมหาสมุทร โดยกลางมหาสมุทรนั้น มี ภูเขาชื่อ ฮวากั่วซาน ซึ่งบนยอดเขานั้นได้มี หินเทวะ เกิดขึ้น สูงสามจ้าง 6 วา 5 นิ้ว
หินเทวะ นั้นตั้งอยู่กลางแจ้ง แต่บริเวณโดยรอบมีต้นไม้อยู่โดยรอบ เมื่อเวลาผ่านไป หินเทวะ ตั้งครรภ์ และให้กำเนิดฟองไข่หิน ครั้นฟองไข่ โดน หินลมพัด ก็บังเกิดเป็น ลิงกายสิทธิ์ จนเมื่อแขนขาทั้งสี่ครบถ้วน ลิงนั้นก็เริ่มเคลื่อนไหว และเรียนรู้ การเดิน การปีนป่าย ด้วยตัวเอง และกระทำกิริยาคารวะทิศทั้งสี่ ส่วนนัยน์ตาทั้งสอง ก็ฉายแสง โชติช่วง ไปยังสวรรค์ ซึ่งชื่อแรกของลิงตัวนี้คือ หงอคง 孫悟空 ต่อมา พระโพธิสัตว์กวนอิม ประทานชื่อให้ว่า เห้งเจีย
เห้งเจีย มีนิสัยส่วนตัว ดุเดือด มุทะลุ หยิ่งผยอง ชอบคุยโวโอ้อวด ครั้งหนึ่งได้แสดงความกล้าหาญ เสี่ยงภัย จนได้ค้นพบ ถ้ำสุ่ยเหลียนต้ง ซึ่งตั้งอยู่ในเขา ฮวากั่วซาน จึงได้รับการยกย่องจากบรรดา ฝูงลิง ว่าเป็น มุ้ยเกาอ๋อง ( เม่ยโหวหวัง) หรือ ราชาผู้ปกครองถ้ำสุ่ยเหลียนต้ง ต่อมาเห้งเจียได้ศึกษาความรู้ ปรัชญาทางธรรม วิชาเหาะเหินเดินอากาศ และแปลงร่างได้ 72 อย่าง จากพระอาจารย์ซิวผูถีจู่จือ 須菩提祖師 โดยท่านได้ตั้งชื่อให้ เห้งเจีย ใหม่ว่า “ซุนหงอคง” 孫悟空
คำว่า "ซุน" หมายถึง ผู้มีจิตใจคืนสู่ความบริสุทธิ์ของทารก และ "หงอคง" (อู้คง) คือ ผู้เห็นแจ้งในสุญตา
นอกจากนี้ เห้งเจีย ยังได้สร้างวีรกรรมอันสะเทือนฟ้า และพิภพอีกมากมาย อาทิ บุกอาละวาดสวรรค์ อาละวาดท้องสมุทร ริบกระบองวิเศษ รองเท้าใยบัว เกราะทองคำ มาลาปีกหงส์ทองคำ จากเมืองบาดาล
สำหรับสมญานาม “ผู้ยิ่งใหญ่เสมอสวรรค์” ของ เห้งเจีย นั้น ได้มาจากหลังจากที่ เห้งเจีย ดับอายุขัยลง ก็ได้ไปต่อล้อต่อเถียงกับ พญายมราช และขีดฆ่าชื่อของวานรทุกตัวให้พ้นจากสารบบวัฏสงสาร จนทำให้ ฮ่ายเหล็งอ๋อง เจ้าแห่งสมุทร และ เจ้าแห่งพิภพยมราช ยอมไม่ได้ จึงไปกราบทูลต่อ เง็กเซียนฮ่องเต้
เง็กเซียนฮ่องเต้ มีรับสั่งให้ แป๊ะกิมแช หรือ ไท้ไป๋จินจง นำ เห้งเจีย มาตัดสินคดี แป๊ะกิมแช กราบทูล เง็กเซียนฮ่องเต้ ว่าให้ใช้สันติวิธี โดยมอบตำแหน่ง เบี่ยวเบ้อุน หรือ ปี้ม่าเวิน ให้ เห้งเจีย คอยทำหน้าที่เลี้ยงม้าบนสวรรค์ ซึ่ง เห้งเจีย ก็ยอมรับแต่โดยดี แต่เมื่อทราบว่า เบี่ยวเบ้อุน เป็นตำแหน่งที่ด้อยที่สุดบนสวรรค์ จึงผิดหวังที่โดนสวรรค์หลอกลวง จึงหนีกลับ อาณาจักร สุ้ยเหลียนต้ง ของตน และเล่าเรื่องราวให้พรรคพวกวานรทั้งหลายฟัง
“ตู๋เจี่ยวกุ่ยหวัง” หนึ่งในปีศาจบอกแทนฝูงลิงว่า “ท่านอ๋องมีฤทธิ์สูงส่งดังนี้ จะรับตำแหน่งเป็นแค่พนักงานเลี้ยงม้าได้อย่างไร เช่นท่านอ๋องของเราแล้วไซร้ ตำแหน่งฉีเทียนเต้าสิ้ง ผู้ยิ่งใหญ่เสมอสวรรค์ ไหนเลยจะเป็นของท่านไม่ได้” นับแต่นั้นมา เห้งเจีย ก็ได้รับตำแหน่งนี้ไป ส่วนทางด้าน เง็กเซียนฮ่องเต้ แม้จะอยากกำราบ เห้งเจีย ให้อยู่หมัด แต่เพื่อความสงบสุขของสวรรค์ จึงปล่อยเลยตามเลย
ซึ่งหลังจากนั้น เห้งเจีย ยังได้สร้างวีรกรรมเพิ่มอีกมาย ทั้งดี และไม่ดี จนสุดท้าย ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ คณะพระถังซัมจั๋ง เดินทางไปอาราธนาพระไตรปิฎกจากแดนไกล จนตอนสุดท้ายได้รับพระราชทานตำแหน่งจากพุทธองค์เป็น ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว – พุทธพิชิต
เห้งเจีย หรือ เทพเห้งเจีย คือ ตัวละครหนึ่งใน “ไซอิ๋ว” อย่างที่เราได้กล่าวไป พอนวนิยายชุดดังกล่าวได้รับการตอบรับไปทั่วจีน ทำให้มีผู้คนที่นับถือ ยกให้เป็นเทพในนาม “ฉีเทียนต้าเสิ้ง” ส่วนในไทยเรามักเรียกติดปากกันว่า “อากง เห้งเจีย”
เมื่อมีเรื่อง “ไซอิ๋ว” เกิดขึ้นมา ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมการบูชาลิง เข้ากับ เห้งเจีย และเริ่มเผยแพร่ไปทั่วจีน จนกระทั่งคนจีนที่อพยพเข้าไปในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็จะมีทั้งคนกวางตุ้ง และฮกเกี้ยนเข้าไปจำนวนมาก จึงมีเรื่องเล่า ความเชื่อ และวัฒนธรรมติดตัวพร้อมไปแพร่หลายอย่างทั่วถึง
ส่วนจุดเริ่มต้นความนับถือในประเทศไทยของ เจ้าพ่อเห้งเจีย คือ การที่ผู้คนที่นับถือในไทย หยิบเอาสถานที่ ที่เกิดขึ้นในเรื่องราว “ไซอิ๋ว” มาผนวกเข้ากับสถานที่บางแห่งในประเทศไทย เช่น พระอุโบสถชื่อ “ลุ่ยอิมยี่” (วัดเหลยอินชื่อ) เป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ใน จ.สระบุรี ที่มีเรื่องราวเล่าว่าที่แห่งนี้เปรียบดั่ง “พุทธชมพูทวีป” หรือก็คือ จุดหมายที่เห้งเจียและคณะเดินทางไปอาราธนาพระไตรปิฎก นั่นเอง
เจ้าพ่อเห้งเจีย มีกี่ชื่อ มีชื่ออะไรบ้าง
นามที่แท้จริงของ เจ้าพ่อเห้งเจีย คือ อะไร ในเมื่อเราเคยได้ยินกันมาหลายต่อหลายชื่อ เช่น ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว, ฉีเทียนต้าเสิ้ง, ซุนหงอคง หรือมุยเกาอ๋อง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมาย และที่มาแตกต่างกันดังนี้
มุยเกาอ๋อง เป็นชื่อที่ได้มาระหว่างการเป็นราชาผู้ปกครองถ้ำสุ่ยเหลียนต้ง (มุยเกาอ๋อง หมายถึง พญาวานรโสภา)
ซุนหงอคง เป็นชื่อที่ พระอาจารย์คนแรก ตั้งให้ ก่อนจะถูก พระโพธิสัตว์กวนอิม ตั้งชื่อให้ว่า เห้งเจีย ภายหลัง (ซุนหงอคง หมายถึง ผู้มีจิตใจเห็นแจ้ง)
ฉีเทียนต้าเสิ้ง เป็นชื่อที่ เง็กเซียนฮ่องเต้ ตั้งให้ หลังจากพ่ายต่อเห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง หมายถึง มหาเทพ)
ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว เป็นชื่อที่ได้รับมาหลังจากบรรลุมรรคผลแล้ว (ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน)
หากเรียงลำดับแล้วจะเข้าใจได้ทันทีว่าชื่อทั้งหมดของ เจ้าพ่อเห้งเจีย ล้วนเป็นชื่อที่เกิดขึ้นแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เพียงแค่ชื่อที่ถูกจดจำในฐานะ เทพเห้งเจีย คือ ฉีเทียนต้าเสิ้ง หรือ ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ เห้งเจีย ได้รับการสรรเสริญมากที่สุด
หากเรียงลำดับแล้วจะเข้าใจได้ทันทีว่าชื่อทั้งหมดของ เจ้าพ่อเห้งเจีย ล้วนเป็นชื่อที่เกิดขึ้นแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เพียงแค่ชื่อที่ถูกจดจำในฐานะ เทพเห้งเจีย คือ ฉีเทียนต้าเสิ้ง หรือ ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ เห้งเจีย ได้รับการสรรเสริญมากที่สุด
ความเชื่อการบูชา เทพเจ้าเห้งเจีย
การบูชา เห้งเจีย นั้นมีความเชื่อกันว่า ผู้บูชาจะปราศจากภัยร้ายเข้ามารบกวน มีร่างกายที่แข็งแรง มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีไหวพริบที่ดี มีความกล้าหาญ ด้วยผลทั้งปวงจะช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหา หรือหาหนทางเพื่อแก้ไขได้เสมอ จึงเป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะกับผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว เพราะช่วยส่งเสริมด้านแก้ปัญหา ฝ่าฟันอุปสรรคทั้งปวง
วิธีบูชา เทพเจ้าเห้งเจีย
วิธีบูชา เทพเห้งเจีย คือ เวลาถวายของบูชา ไม่ต้องเปิดภาชนะ หรือเตรียมพร้อมทานตามปกติ หลังจากไหว้เสร็จ ให้จัดเครื่องบูชาถวาย พร้อมลาของไหว้บางส่วนเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลานที่อากงเห้งเจียท่านประทานให้ และ ห้ามบนบานกับท่านเด็ดขาด เพียงแต่ตั้งศรัทธาให้แน่วแน่ เพื่อขอพรท่านให้เมตตาเท่านั้นพอ
ส่วนของที่สามารถถวาย เจ้าพ่อเห้งเจีย ได้ก็จะมี ลูกท้อสด กล้วย 1 หวี หรือแอปเปิล ส้ม 4 ผล น้ำชาจีน หรือ ถวายชาชงสำเร็จรูปแบบขวด แทนได้ เหล้าบ๊วย ถั่วลิสง ขนมซิ่วท้อ หรือบัวลอย
วิธีบูชา เทพเห้งเจีย คือ เวลาถวายของบูชา ไม่ต้องเปิดภาชนะ หรือเตรียมพร้อมทานตามปกติ หลังจากไหว้เสร็จ ให้จัดเครื่องบูชาถวาย พร้อมลาของไหว้บางส่วนเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลานที่อากงเห้งเจียท่านประทานให้ และ ห้ามบนบานกับท่านเด็ดขาด เพียงแต่ตั้งศรัทธาให้แน่วแน่ เพื่อขอพรท่านให้เมตตาเท่านั้นพอ
ส่วนของที่สามารถถวาย เจ้าพ่อเห้งเจีย ได้ก็จะมี ลูกท้อสด กล้วย 1 หวี หรือแอปเปิล ส้ม 4 ผล น้ำชาจีน หรือ ถวายชาชงสำเร็จรูปแบบขวด แทนได้ เหล้าบ๊วย ถั่วลิสง ขนมซิ่วท้อ หรือบัวลอย
ไหว้ อากงเห้งเจีย ใช้ธูปกี่ดอก
ไหว้ อากงเห้งเจีย ใช้ธูปกี่ดอก คำตอบ คือ ทั้งหมด 28 ดอก ซึ่งตามปกติเราจะไหว้ทั้งหมด 5 จุด ไหว้ฟ้าดิน (3 ดอก), ไหว้พระรวม (3 ดอก), ไหว้เจ้ารวม (15 ดอก), ไหว้แปะกงแปะม่า (3 ดอก) และไหว้สิงโต (4 ดอก) ถือเป็นอันเสร็จสิ้นการไหว้ เจ้าพ่อเห้งเจีย
หมายเหตุ: บางศาลเห้งเจีย อาจมีการไหว้ที่แตกต่างกันออกไป ต้องถามสถานที่ ที่เราไปไหว้อีกครั้งว่าไหว้อากงเห้งเจียใช้ธูปกี่ดอก และปฏิบัติอย่างไรสำหรับสถานที่แห่งนั้น
ไหว้ อากงเห้งเจีย ใช้ธูปกี่ดอก คำตอบ คือ ทั้งหมด 28 ดอก ซึ่งตามปกติเราจะไหว้ทั้งหมด 5 จุด ไหว้ฟ้าดิน (3 ดอก), ไหว้พระรวม (3 ดอก), ไหว้เจ้ารวม (15 ดอก), ไหว้แปะกงแปะม่า (3 ดอก) และไหว้สิงโต (4 ดอก) ถือเป็นอันเสร็จสิ้นการไหว้ เจ้าพ่อเห้งเจีย
หมายเหตุ: บางศาลเห้งเจีย อาจมีการไหว้ที่แตกต่างกันออกไป ต้องถามสถานที่ ที่เราไปไหว้อีกครั้งว่าไหว้อากงเห้งเจียใช้ธูปกี่ดอก และปฏิบัติอย่างไรสำหรับสถานที่แห่งนั้น
คาถาบูชาเทพเห้งเจีย
ท่องนะโม (3 จบ)
นะโมไต่เสี่ยฮุกโจ้ว โจวซือ อะระหัง เมตตา
นะชาลิติ ติลิชนะ นะโมพุทธายะ
จากนั้นอธิษฐานในใจเพื่อขอพร ฝากตัวเป็นลูกหลานแก่อากงเห้งเจีย วันนี้วันดี ขอตั้งจิตอธิษฐาน ณ ศาลเจ้าพ่อเห้งเจียแห่งนี้ โดยตัวข้าพเจ้ามีนามว่า (ชื่อนามสกุล) เกิดวันที่ เดือน ปี ที่อยู่ ณ ปัจจุบัน ขอฝากตัวเป็นลูกหลานอากงเห้งเจีย, อากงซุนหงอคง, อากงไต่เสี่ยฮุกโจ้ว และอากงทุกพระองค์
ขอเมตตาบารของอากงเห้งเจีย ได้โปรดปกปักรักษา คุ้มครองข้าพเจ้า ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตราย ไปไหนก็ขอให้อากงช่วยระแวดระวังภัยทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังทั้งแปดทิศ
ขอให้อากงนำทาง นำแสงสว่างมาสู่ชีวิตของตัวข้าพเจ้า หากทำธุรกิจ การค้า หรือการงานใดก็ตาม ก็ขอให้ประสบความสำเร็จ มีความมั่งคั่ง มีโชคลาภ ตลอดปีตลอดไป โดยข้าพเจ้าขอให้คำมั่นสัญญาว่าจะประพฤติตนอยู่ในความดี มีศีลธรรม ส่งต่อสิ่งดี ๆ ต่อคนรอบข้างและสังคมตลอดไป
ขอเมตตาบารของอากงเห้งเจีย ได้โปรดปกปักรักษา คุ้มครองข้าพเจ้า ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตราย ไปไหนก็ขอให้อากงช่วยระแวดระวังภัยทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังทั้งแปดทิศ
ขอให้อากงนำทาง นำแสงสว่างมาสู่ชีวิตของตัวข้าพเจ้า หากทำธุรกิจ การค้า หรือการงานใดก็ตาม ก็ขอให้ประสบความสำเร็จ มีความมั่งคั่ง มีโชคลาภ ตลอดปีตลอดไป โดยข้าพเจ้าขอให้คำมั่นสัญญาว่าจะประพฤติตนอยู่ในความดี มีศีลธรรม ส่งต่อสิ่งดี ๆ ต่อคนรอบข้างและสังคมตลอดไป
เทพเจ้าเห้งเจีย เป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์มีพลังมากมาย อีกทั้ง กระบองวิเศษ (เปรียบเสมือนปัญญาที่มีทั้งคุณหากใช้ในทางที่ถูก แต่มีโทษหากใช้ในทางที่ผิด หรือหากใช้ยามไม่มีสติย่อมเกิดผลเสียมากกว่าผลดี) แต่หากเมื่อไหร่มี โทสะ เมื่อนั้นทุกอย่างจะราบเป็นหน้ากอง
นั่นจึงเป็นเหตุผลหนึ่งให้ พระโพธิสัตว์กวนอิม ประทานมงคล รัดเกล้า 3 ห่วงคล้องกัน แทนไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา มารัดหัวไว้ ให้สิ่งนั้นแทน "สติ" ครั้นเมื่อ มีสติ และปัญญา เมื่อไหร่ก็สามารถฝ่าฟันได้ทุกปัญหา
ดังนั้นสิ่งที่เราควรเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติตาม คือ หากเราต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เพียงขอพรท่านเพียงอย่างเดียว หากการกระทำไม่เปลี่ยน ผลลัพท์ย่อมยากจะเปลี่ยน เราต้องไขว่คว้าหาความรู้ พัฒนาตนเอง เพือเสริมปัญญา ควบคู่กับการมีสติตลอดเวลา ลดการใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา และมีสติตลอดเวลานั่นเองครับ
...............................................................................
#วันรำลึกท่าน (เกิด)
วันที่ 16 เดือน 8 (จีน)
#วันรำลึกท่าน (ออกบวช)
วันที่ 12 เดือน 10 (จีน)
หากข้อมูลและประวัติไม่ตรง กับที่ท่านทราบและศึกษามา ต้องขออภัยด้วย
ที่มา : ขอขอบคุณ
FB : เทพเจ้าจีน ของ อ.Boonyong Boonrod
https://www.facebook.com/groups/379490468801970/permalink/986628634754814/
FB : ชีวิต ศรัทธา เทพเจ้า
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=588808647948326&id=325153520980508&substory_index=0
FB : ไต้เสี่ยฮุกโจ้ว ศาลเจ้าเห้งเจีย วัดสามจีน
https://www.facebook.com/ไต้เสี่ยฮุกโจ้ว-ศาลเจ้าเห้งเจีย-วัดสามจีน-102976386467801/photos/?tab=album&album_id=129338347164938
วันที่ 16 เดือน 8 (จีน)
#วันรำลึกท่าน (ออกบวช)
วันที่ 12 เดือน 10 (จีน)
หากข้อมูลและประวัติไม่ตรง กับที่ท่านทราบและศึกษามา ต้องขออภัยด้วย
ที่มา : ขอขอบคุณ
FB : เทพเจ้าจีน ของ อ.Boonyong Boonrod
https://www.facebook.com/groups/379490468801970/permalink/986628634754814/
FB : ชีวิต ศรัทธา เทพเจ้า
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=588808647948326&id=325153520980508&substory_index=0
FB : ไต้เสี่ยฮุกโจ้ว ศาลเจ้าเห้งเจีย วัดสามจีน
https://www.facebook.com/ไต้เสี่ยฮุกโจ้ว-ศาลเจ้าเห้งเจีย-วัดสามจีน-102976386467801/photos/?tab=album&album_id=129338347164938
เวป : มหามงคล https://www.mahamongkol.com/m/content.php?id=258
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น