10 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในนักเรียนศิลปะ
"ศิลปะ และการออกแบบ" เป็นวิชาในฝันของหลายคนที่ชอบขีดๆ เขียนๆ มาตั้งแต่เด็ก และเดี๋ยวนี้หลายสถาบันการศึกษาทั่วโลกก็เปิดสอนวิชาศิลปะในระดับปริญญากันมากมาย เพื่อรองรับตลาดแรงงานที่ต้องการบุคลากรทางด้านความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น สำหรับคนที่กำลังสนใจวิชาศิลปะ ลองอ่านความเห็นของ "เอมิเรีย โรบินสัน" อาจารย์ที่มีประสบการณ์สอนวิชาศิลปะ และการออกแบบมา 7 ปี ดูว่าเธอพบความผิดพลาดอะไรจากนักเรียนที่สอนมานับพันคนบ้าง
1. คิดว่าเรียนศิลปะแล้วมีแต่ความสนุกไม่เครียด
ศิลปะเป็นงานอดิเรกที่หลายคนมีไว้เพื่อผ่อนคลาย แต่หากเรียนศิลปะอย่างจริงจังมันมีรายละเอียดมากกว่านั้นหลายเท่า และงานก็หนักสุดๆ ต้องส่งชิ้นงานทุกอาทิตย์ แถมมีความกดดันจากเพื่อนที่เก่งกว่าอีกด้วย เรียกได้ว่าต้องใจรักจริงๆ ถึงจะเรียนรอด ศิลปะเป็นวิชาที่ไม่ได้จบแค่ในห้องเรียน ส่วนใหญ่ต้องเอางานมาทำต่อในเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าอยากจะมาเรียนสนุกลุกนั่งสบาย ขอให้คิดใหม่
2. ต้องบิ้วอารมณ์ให้ได้ที่ก่อนถึงจะเริ่มทำงานศิลปะได้
การมีอารมณ์ร่วมกับสิ่งที่ทำถือเป็นเรื่องดี แต่บางคนมัวแต่บิ้วอารมณ์ตัวเองจนไม่ได้เริ่มลงมือทำอะไรสักที หรือบางทีก็คิดว่าไอเดียยังไม่เจ๋งพอ ขอคิดไปเรื่อยๆ ก่อนดีกว่า อยากทำแล้ว ตู้ม...! ทีเดียวให้สุดยอดไปเลย ซึ่งคนที่คิดแบบนี้ส่วนใหญ่จะส่งงานไม่ทันเดทไลน์ ฉะนั้น ... คิดอะไรออกมาได้ก็ลงมือทำไปก่อนดีกว่านะ ถ้ามันยังไม่ถูกใจก็ค่อยๆ ปรับแก้ต่อยอดจากสิ่งที่ทำไปเรื่อยๆ
3. เล่นท่าง่ายเกินไป
ผลงานศิลปะที่ดีควรจะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ มีตัวตนของศิลปินอยู่ในนั้น และถ้าจะให้ดีก็ควรริเริ่มทดลองอะไรใหม่ๆ บ้าง ผลงานจะได้ไม่ซ้ำซากน่าเบื่อ
4. อ่อนซ้อม
นักเรียนศิลปะหลายคนมีไอเดียยอดเยี่ยม แต่ขาดทักษะที่จะถ่ายทอดความน่าทึ่งเหล่านั้นออกมาให้ดีพอ ผลงานจึงดรอปลงอย่างน่าเสียดาย ผู้เรียนศิลปะควรรู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อนอะไร และหมั่นฝึกฝนให้ดียิ่งขึ้น
5. ขาดการพัฒนาไอเดีย
ผลงานของนักเรียนศิลปะ ควรจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ นักเรียนไม่ควรปล่อยให้ไอเดียย่ำอยู่กับที่ ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ เช่น เดินชมหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ ดูงานศิลปะของต่างประเทศ หรือบางทีก็ข้ามไปรับสื่อแขนงอื่นๆ เช่น หนัง เพลง หนังสือ เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับตัวเองบ้าง
6. ไม่พอใจในผลงานก็เริ่มใหม่
ใครๆ ก็อยากทำงานให้ออกมาสมบูรณ์แบบกันทั้งนั้น แต่คำว่าสมบูรณ์แบบมันไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะในโลกของการทำงานจริง งานจะดีอย่างเดียวไม่ได้ งานต้องเสร็จตามกำหนดเวลาด้วย ดังนั้น ในชั้นเรียนวิชาศิลปะการส่งงานให้ตรงตามเวลา จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้ความสวยงามอลังการของผลงาน นักเรียนบางคนพอทำงานไปแล้วไม่ถูกใจก็ทิ้งแล้วไปทำชิ้นใหม่ สุดท้ายพอถึงกำหนดส่ง สิ่งที่ได้ออกมากลับเป็นงานที่เสร็จครึ่งๆ กลางๆ สองชิ้น เอาจริงๆ ถ้าเลือกทำชิ้นเดียว แล้วพยายามพัฒนาต่อให้มันดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
7. ฝึกวาดจากรูปวาดของคนอื่น
ไม่ค่อยแนะนำให้ทำเท่าไรนัก เพราะผลงานที่ได้จะขาดความเป็นตัวของตัวเอง และขาดมุมมองใหม่ๆ นักเรียนศิลปะควรวาดจากวัตถุต้นแบบโดยตรง และแตกไอเดียจากความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองมากกว่า แต่ก็อาจมีบางบทเรียนที่อาจารย์ให้โจทย์เป็นการเลียนแบบรูปวาดของศิลปินอื่นอยู่เหมือนกัน ทั้งนี้ก็ต้องดูความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป
8. เขียนคำอธิบายชิ้นงานยาวเกินไป
จริงๆ เรื่องการเขียนอธิบายชิ้นงานมันไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวว่าแบบไหนถูกหรือผิด แต่งานศิลปะที่ดีควรจะสามารถสื่อสารได้ด้วยตัวของมันเอง ถ้าต้องพึ่งคำอธิบายยืดยาวเกินพอดี นั่นอาจแปลว่างานชิ้นนั้นไม่สามารถสื่อสารได้ดีพอ แต่ถ้าเป็นวิชาวิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะ แบบนี้ควรเขียนออกมาให้เต็มที่มีเท่าไหร่ใส่ไปไม่ต้องยั้ง
9. ขาดทักษะในการพรีเซนต์งาน
บางครั้งคนในสายอาชีพอื่นเขาอาจจะเข้าไม่ถึงผลงานของเรา เราก็ไม่ควรไปติสต์แตกใส่เขา (โดยเฉพาะถ้าคนนั้นเป็นลูกค้า) นักเรียนศิลปะที่ดีควรมีทักษะในการนำเสนอผลงานติดตัวไว้บ้าง จะได้สามารถอธิบายงานของเราให้คนทั่วไปเข้าใจด้วยภาษาเข้าใจง่ายและทรงพลัง หรือพูดง่ายๆ ก็คือขายงานเป็นนั่นเอง
10. ผัดวันประกันพรุ่ง
ที่สุดของความหายนะในนักเรียนศิลปะ ก็คือนิสัยผัดวันประวันพรุ่ง นี่คืออุปสรรคชิ้นใหญ่ที่ขวางความสำเร็จของผู้คนมานักต่อนัก หากคุณมีไอเดียยอดเยี่ยม ฝีมือเลิศล้ำ แต่ไม่ลงมือทำงานมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร จำไว้ว่ามีของต้องสำแดง ว่าแล้วก็ไปลงมือทำงานที่เรารักกันดีกว่า
CR. By Sutasinee Lertwatcha
ศิลปะเป็นงานอดิเรกที่หลายคนมีไว้เพื่อผ่อนคลาย แต่หากเรียนศิลปะอย่างจริงจังมันมีรายละเอียดมากกว่านั้นหลายเท่า และงานก็หนักสุดๆ ต้องส่งชิ้นงานทุกอาทิตย์ แถมมีความกดดันจากเพื่อนที่เก่งกว่าอีกด้วย เรียกได้ว่าต้องใจรักจริงๆ ถึงจะเรียนรอด ศิลปะเป็นวิชาที่ไม่ได้จบแค่ในห้องเรียน ส่วนใหญ่ต้องเอางานมาทำต่อในเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าอยากจะมาเรียนสนุกลุกนั่งสบาย ขอให้คิดใหม่
การมีอารมณ์ร่วมกับสิ่งที่ทำถือเป็นเรื่องดี แต่บางคนมัวแต่บิ้วอารมณ์ตัวเองจนไม่ได้เริ่มลงมือทำอะไรสักที หรือบางทีก็คิดว่าไอเดียยังไม่เจ๋งพอ ขอคิดไปเรื่อยๆ ก่อนดีกว่า อยากทำแล้ว ตู้ม...! ทีเดียวให้สุดยอดไปเลย ซึ่งคนที่คิดแบบนี้ส่วนใหญ่จะส่งงานไม่ทันเดทไลน์ ฉะนั้น ... คิดอะไรออกมาได้ก็ลงมือทำไปก่อนดีกว่านะ ถ้ามันยังไม่ถูกใจก็ค่อยๆ ปรับแก้ต่อยอดจากสิ่งที่ทำไปเรื่อยๆ
ผลงานศิลปะที่ดีควรจะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ มีตัวตนของศิลปินอยู่ในนั้น และถ้าจะให้ดีก็ควรริเริ่มทดลองอะไรใหม่ๆ บ้าง ผลงานจะได้ไม่ซ้ำซากน่าเบื่อ
นักเรียนศิลปะหลายคนมีไอเดียยอดเยี่ยม แต่ขาดทักษะที่จะถ่ายทอดความน่าทึ่งเหล่านั้นออกมาให้ดีพอ ผลงานจึงดรอปลงอย่างน่าเสียดาย ผู้เรียนศิลปะควรรู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อนอะไร และหมั่นฝึกฝนให้ดียิ่งขึ้น
ผลงานของนักเรียนศิลปะ ควรจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ นักเรียนไม่ควรปล่อยให้ไอเดียย่ำอยู่กับที่ ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ เช่น เดินชมหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ ดูงานศิลปะของต่างประเทศ หรือบางทีก็ข้ามไปรับสื่อแขนงอื่นๆ เช่น หนัง เพลง หนังสือ เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับตัวเองบ้าง
ใครๆ ก็อยากทำงานให้ออกมาสมบูรณ์แบบกันทั้งนั้น แต่คำว่าสมบูรณ์แบบมันไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะในโลกของการทำงานจริง งานจะดีอย่างเดียวไม่ได้ งานต้องเสร็จตามกำหนดเวลาด้วย ดังนั้น ในชั้นเรียนวิชาศิลปะการส่งงานให้ตรงตามเวลา จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้ความสวยงามอลังการของผลงาน นักเรียนบางคนพอทำงานไปแล้วไม่ถูกใจก็ทิ้งแล้วไปทำชิ้นใหม่ สุดท้ายพอถึงกำหนดส่ง สิ่งที่ได้ออกมากลับเป็นงานที่เสร็จครึ่งๆ กลางๆ สองชิ้น เอาจริงๆ ถ้าเลือกทำชิ้นเดียว แล้วพยายามพัฒนาต่อให้มันดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
ไม่ค่อยแนะนำให้ทำเท่าไรนัก เพราะผลงานที่ได้จะขาดความเป็นตัวของตัวเอง และขาดมุมมองใหม่ๆ นักเรียนศิลปะควรวาดจากวัตถุต้นแบบโดยตรง และแตกไอเดียจากความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองมากกว่า แต่ก็อาจมีบางบทเรียนที่อาจารย์ให้โจทย์เป็นการเลียนแบบรูปวาดของศิลปินอื่นอยู่เหมือนกัน ทั้งนี้ก็ต้องดูความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป
จริงๆ เรื่องการเขียนอธิบายชิ้นงานมันไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวว่าแบบไหนถูกหรือผิด แต่งานศิลปะที่ดีควรจะสามารถสื่อสารได้ด้วยตัวของมันเอง ถ้าต้องพึ่งคำอธิบายยืดยาวเกินพอดี นั่นอาจแปลว่างานชิ้นนั้นไม่สามารถสื่อสารได้ดีพอ แต่ถ้าเป็นวิชาวิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะ แบบนี้ควรเขียนออกมาให้เต็มที่มีเท่าไหร่ใส่ไปไม่ต้องยั้ง
บางครั้งคนในสายอาชีพอื่นเขาอาจจะเข้าไม่ถึงผลงานของเรา เราก็ไม่ควรไปติสต์แตกใส่เขา (โดยเฉพาะถ้าคนนั้นเป็นลูกค้า) นักเรียนศิลปะที่ดีควรมีทักษะในการนำเสนอผลงานติดตัวไว้บ้าง จะได้สามารถอธิบายงานของเราให้คนทั่วไปเข้าใจด้วยภาษาเข้าใจง่ายและทรงพลัง หรือพูดง่ายๆ ก็คือขายงานเป็นนั่นเอง
ที่สุดของความหายนะในนักเรียนศิลปะ ก็คือนิสัยผัดวันประวันพรุ่ง นี่คืออุปสรรคชิ้นใหญ่ที่ขวางความสำเร็จของผู้คนมานักต่อนัก หากคุณมีไอเดียยอดเยี่ยม ฝีมือเลิศล้ำ แต่ไม่ลงมือทำงานมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร จำไว้ว่ามีของต้องสำแดง ว่าแล้วก็ไปลงมือทำงานที่เรารักกันดีกว่า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น