บูชาองค์พญาครุฑ นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองแห่งชีวิต
ตำนาน "พญาครุฑ" เทพเดรัจฉาน ผู้มีฤทธิ์มาก..คนโบราณเชื่อสืบกันมาว่า ... "ครุฑ" เป็นตัวแทนแห่งความเจริญรุ่งเรือง มหาอำนาจ ... ตลอดไป
ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่า ครุฑ เป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ"
ครุฑ เป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ
ครุฑ แบ่งได้ 5 ประเภทคือ
(ใช้สวดตอนเฉพาะอัญเชิญเป็นครั้งแรก)
ครุฑ (สันสกฤต: गरुड) เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑ เป็นพี่น้องกับนาค และทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ
ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่า ครุฑ เป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ"
ครุฑ เป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ
- ตัวเป็นคนอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่มีปีก
- ตัวเป็นคน หัวเป็นนก
- ตัวเป็นคน หัวและขาเป็นนก
- ตัวเป็นนก หัวเป็นคน
- รูปร่างเหมือนนกทั้งตัว
สิทธิอำนาจพญาครุฑ สัตว์กายสิทธิ์ที่ไม่มีผู้ใดสามารถฆ่าให้ตายได้มีอายุยืนเสมือนว่าเป็นอมตะนั้น นับเป็นเรื่องลี้ลับที่ผู้รู้พยายามค้นคว้า และเสาะหาที่มาแห่งพลังอำนาจดังกล่าว จนเกิดการสร้างเครื่องรางต่าง ๆ ขึ้น อำนาจพญาครุฑสามารถจำแนกได้ถึง 8 ประการ โดยนับเอาอำนาจหลักๆ ได้ดังนี้คือ
วิธีบูชาองค์พญาครุฑ
- เป็นมหาอำนาจอันยิ่งใหญ่ เป็นสิทธิอำนาจอันเฉียบขาด
- สามารถลบล้างอาถรรพ์และคุณไสย์ทั้งปวง ภูติผีปิศาจกลัวไม่กล้าเข้าใกล้
- เป็นสื่อนำความเจริญรุ่งเรือง ยศถาบรรดาศักดิ์มาสู่ชีวิตหน้าที่การงาน
- ปกป้องคุ้มครอง ป้องกันภัยเป็นคงกระพัน
- เป็นเมตตามหานิยม
- นำความร่มเย็นเป็นสุขมาให้
- ทำมาค้าขายดีเป็นสื่อนำโชคลาภนานาประการ
- สัตว์ร้าย เขี้ยวงาสารพัด งูเงี้ยวเขี้ยวขอ อสรพิษไม่กล้ากล้ำกรายเข้าใกล้ เพราะเกรงตบะบารมีขององค์พญาครุฑเป็นที่สุด
วิธีบูชาองค์พญาครุฑ
เมื่อได้รับองค์พญาครุฑแบบบูชามาใหม่ๆ ให้อัญเชิญนำเข้าอาคารบ้านเรือนภายในเที่ยงวัน ให้ทำการจุดธูปบอกกล่าวแด่เจ้าที่เจ้าทาง หรือตี่จูเอี๊ย (ใช้ธูป 5 ดอก) เพื่อเป็นการขออนุญาตินำองค์พญาครุฑมาประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ แล้วให้จัดเครื่องบวงสรวงรับด้วยการจุดธูปครั้งแรก 9 ดอก จุดเทียน 1 คู่ พวงมาลัย 1 พวง ผลไม้ 1 หรือ 3 อย่าง ถั่ว หรืองา 1 ถ้วย น้ำเปล่า 1 แก้ว (งดถวายของคาว บุหรี่ เหล้า)
สามารถวางรวมอยู่กับหิ้งพระได้โดยไว้ชั้นล่างสุด แต่ถ้าเดิมที่หิ้งบูชาพญานาคอยู่แล้ว ก็ให้วางชั้นเดียวกันได้ โดยไม่ต้องกลัวอาถรรพ์ใดๆ ทั้งสิ้น เพราะพญาครุฑกับพญานาคยุติสงครามกันมานานแล้ว สามารถวางบูชาร่วมกับองค์พระพิฆเนศได้ไม่มีปัญหา แล้วให้ทำการสวดอัญเชิญสรรเสริญองค์พญาครุฑด้วยบทนี้
ตั้งนะโม ๓ จบแล้วว่า
พุทโธอิติสุคะโต นะโมพุทธายะ
ข้าพเจ้าขออัญเชิญพญาครุฑกำลังแผ่นดิน
จงคุ้มครองข้า(บอกชื่อและนามสกุล)
เจริญโชคมั่งมีศรีสุขลาภผลพูนทวีอยู่เย็นเป็นสุข
ขออำนาจพญาครุฑจงล้างอาถรรพ์ขจัดทุกข์โศก
โรคภัยเสนียดอัปมงคลให้หายสิ้นไป
ขออำนาจพญาครุฑกำลังแผ่นดินจงคุ้มครอง
ครอบครัวของข้าพเจ้า ให้เจริญร่ำรวยด้วยอำนาจ
ของ อุกาสะ มะ อะ อุ พุทโธนะโมพุทธายะ เทอญฯ
คาถาสวดบูชาพญาครุฑ ซึ่งสวดได้ตลอด
ตั้งนะโม ๓ จบแล้วว่า
อิติปิโสภะคะวาพระพุทธเจ้าสั่งมา
พญาครุฑล้างอาถรรพณ์
อิติคงเนื้อ อิติคงหนัง
พญาครุฑยันติ อภิปูยาจามิ.
พญาครุฑจะผุด มนุษย์จะเกิด
พุทธังแคล้วคลาด
ธัมมังแคล้วคลาด
สังฆังแคล้วคลาด
องค์พระพุทธเจ้าย่างบาท
นะปัจจะโยโหนตุ
ตั้งนะโม ๓ จบแล้วว่า
อะหัง ครุฑธาเรนะ. ( 3 คาบหรือ 9 คาบ )
ครุฑาเทวาราช ราชาเวหา
อิทธิฤทธา อิทธิเดชา นะมะอะอุ ( สวด 3-5-7-9 จบ )
อุ กะ กา นัง ( 3 จบ )
คะรุปิจะ กิติมันตัง มะ อะ อุ
โอมพญาครุฑ รุจ รุจ แล้วรวย
นะได้เงิน นะได้ทอง นะเจริญ
นะมั่นคง นะได้ทรัพย์ นะเมตตา
โอมพญาครุฑ รุจ รุจ แล้วรวย
นะได้เงิน นะได้ทอง นะเจริญ
นะมั่นคง นะได้ทรัพย์ นะเมตตา
อิติปิโสภะคะวาพระพุทธเจ้าสั่งมา
พญาครุฑล้างอาถรรพณ์
อิติคงเนื้อ อิติคงหนัง
พญาครุฑยันติ อภิปูยาจามิ.
พญาครุฑจะผุด มนุษย์จะเกิด
พุทธังแคล้วคลาด
ธัมมังแคล้วคลาด
สังฆังแคล้วคลาด
องค์พระพุทธเจ้าย่างบาท
นะปัจจะโยโหนตุ
.........................................
อะหัง ครุฑธาเรนะ. ( 3 คาบหรือ 9 คาบ )
ครุฑาเทวาราช ราชาเวหา
อิทธิฤทธา อิทธิเดชา นะมะอะอุ ( สวด 3-5-7-9 จบ )
อุ กะ กา นัง ( 3 จบ )
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น