10 เป้าหมายสร้างทักษะชีวิตให้ลูกช่วงปิดเทอม
ช่วงปิดเทอมมักเจอคำถามจากเพื่อนพ่อแม่ว่าให้ลูกทำกิจกรรมอะไรดี มีกิจกรรมหรือค่ายดีๆ ที่ไหนช่วยแนะนำด้วย ดิฉันก็ตอบกลับไปว่าไม่รู้หรอกค่ะ จะมีก็แต่กิจกรรมที่มีคนฝากประชาสัมพันธ์ หรือที่รู้ว่ามีใครจัดกิจกรรมอะไรที่ไหนก็ผ่านการประชาสัมพันธ์จากสื่อต่างๆ นี่แหละค่ะ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีมากมายเหลือเกิน ยิ่งมีสื่อออนไลน์ด้วยแล้ว การกระจายตามสื่อก็เกลื่อนสังคมออนไลน์ตามไปด้วย ซึ่งนั่นก็หมายความว่ามีตัวเลือกให้พ่อแม่เลือกจำนวนมาก จนไม่รู้ว่าจะเลือกที่ไหนดี หรือก็คือไม่รู้ว่าที่ไหนดี
ความจริงกิจกรรมช่วงปิดเทอมก็ไม่จำเป็นต้องคิดถึงกิจกรรมไกลตัวหรือกิจกรรมนอกบ้านอย่างเดียว แต่น่าจะใช้ช่วงปิดเทอมในการวางเป้าหมายชีวิตว่าอยากจะให้ลูกทำอะไร แล้วได้อะไร หรือใช้ช่วงปิดเทอมในการปรับพฤติกรรมบางประการก็สามารถทำได้เหมือนกัน
ลองมาตั้งเป้าหมายสร้างทักษะชีวิตให้ลูกช่วงปิดเทอมกันนะค่ะ
เป้าหมายที่หนึ่ง ให้ลูกช่วยเหลือตัวเองให้ได้
ยิ่งถ้าคุณเป็นพ่อแม่ที่ปกติแล้วชอบจัดการให้ลูกหมดทุกสิ่งอย่าง ลองตั้งเป้าหมายดูว่าปิดเทอมนี้จะทำให้ลูกช่วยเหลือตัวเองให้ได้ พ่อแม่อาจลองมอบหมายความรับผิดชอบหรือหน้าที่ที่ชัดเจน เริ่มจากกิจวัตรประจำวันนี่แหละค่ะ ยกตัวอย่าง ตื่นนอนต้องเก็บที่นอนเอง ซึ่งตอนที่เปิดเทอมทุกอย่างอาจรีบเร่งไปหมด พ่อแม่จึงทำให้ลูกทุกอย่างเพราะกลัวลูกไปโรงเรียนไม่ทัน ก็ลองปรับพฤติกรรมให้เขาทำเอง และฝึกให้ทำเร็วขึ้น หรืออาจมอบหมายงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น งานบ้าน ที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาเอง เพื่อกระตุ้นให้เขาฝึกรับผิดชอบตัวเอง
เป้าหมายที่สอง ว่ายน้ำเป็น
ทุกช่วงปิดเทอมเรามักจะได้ยินข่าวร้ายๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุเด็กจมน้ำเสียชีวิตเป็นประจำ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุสูงที่สุดในบรรดาอุบัติเหตุทั้งหมด โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ลองตั้งเป้าหมายให้ลูกไปเรียนว่ายน้ำอย่างถูกวิธี และสามารถว่ายน้ำได้ก่อนเปิดเทอม รวมไปถึงทักษะเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับแหล่งน้ำ และหากพบเห็นคนตกน้ำควรจะต้องทำอย่างไร เป็นทักษะชีวิตที่สำคัญมาก เพราะประเทศเรามีแหล่งน้ำจำนวนมาก เด็กไทยควรว่ายน้ำเป็นทุกคน
เป้าหมายที่สาม ทำกับข้าว
ไม่ต้องถึงขนาดไปเรียนในโรงเรียนสอนทำอาหารหรอกค่ะ ถ้าบ้านไหนคุณแม่ทำกับข้าวเป็น ก็ชวนลูกเข้าครัว และถือโอกาสสอนให้ลูกทำกับข้าวด้วยซะเลย อาจตั้งเป้าว่าปิดเทอมจะทำเป็นกี่เมนู เริ่มจากเมนูง่ายๆ เมนูโปรดของลูกก็ได้ ให้เขาเริ่มจากเป็นผู้ช่วยแล้วก็ค่อยๆ ขยับให้เขาลองปรุงอาหารเองด้วย เขาจะตื่นเต้นสนุกสนานและเกิดความภาคภูมิใจอย่างมาก แต่ต้องดูวัยของลูกด้วยว่าควรเลือกทำเมนูอะไรดี
เป้าหมายที่สี่ ชวนลูกปลูกต้นไม้
ลูกๆ อาจรู้จักต้นไม้ แต่อาจจะไม่เคยปลูกต้นไม้มาก่อน ลองให้เขาหัดปลูกต้นไม้ และดูแลรดน้ำหรือพรวนดินต้นไม้ เป็นการสอนเรื่องชีวิตไปในตัวด้วย ถ้าเราดูแลต้นไม้เป็นอย่างดีก็จะเจริญเติบโตออกดอกออกผล เหมือนชีวิตคนเราก็ต้องดูแลให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งการปลูกต้นไม้ยังทำให้เกิดการต่อยอดเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์อีกด้วย
เป้าหมายที่ห้า อ่านหนังสือดีๆ
พยายามหาหนังสือดีๆ ที่เหมาะกับวัยของลูก และกำหนดให้เขาอ่านให้จบ จะกี่เล่มก็ตาม เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์และจินตนาการของลูก อาจกำหนดเป็นช่วงเวลาก่อนนอนวันละ 1 ชั่วโมงก็ได้ เมื่ออ่านจบแล้วก็อาจชวนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือ เพื่อกระตุ้นให้ลูกฝึกคิดวิเคราะห์ได้ด้วย ที่สำคัญอย่ากำหนดเป็นหนังสือเรียนเท่านั้นนะคะ
เป้าหมายที่หก ฝึกจัดข้าวของของตัวเองให้เข้าที่
อาจเริ่มจากจัดห้องนอน หรือมุมโปรดของตัวเองที่รกหรือมีฝุ่นเกาะเต็มไปหมด ก็ถือโอกาสชวนลูกรื้อห้องนอน ห้องนั่งเล่นหรือมุมโปรดของเขา ให้เขาได้มีส่วนร่วมในการทำความสะอาด และจัดสิ่งของให้เป็นระเบียบ เป็นการสอนให้เขาได้เรียนรู้ด้วยว่าเมื่อข้าวของเป็นระเบียบ ก็ทำให้เราสะดวกในการหาสิ่งของเครื่องใช้
เป้าหมายที่เจ็ด ออกกำลังกาย
หรือเล่นกีฬาเพิ่มเติมจากสิ่งที่ไม่ได้เรียนในชั้นเรียน พยายามให้ลูกได้รู้จักกีฬาอื่นๆ ที่นอกเหนือจากชั้นเรียน อย่างน้อยหนึ่งชนิดกีฬาก่อนเปิดเทอม และหาโอกาสพาลูกไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เป้าหมายที่แปด ชวนไปสวนสาธารณะหรือแหล่งการเรียนรู้ใกล้บ้าน
ที่เน้นว่าใกล้บ้าน เพราะต้องการชวนให้ลูกเรียนรู้ว่าแหล่งการเรียนรู้มีอยู่รอบตัว สามารถทำกิจกรรมง่ายๆ โดยมีพ่อแม่เป็นผู้ชี้แนะว่ากิจกรรมที่ทำนั้นได้อะไร
เป้าหมายที่เก้า เก็บหนังสือของชั้นปีที่แล้วที่ไม่ได้ใช้ และเตรียมสำหรับชั้นปีต่อไป
เป็นการสอนให้ลูกได้เรียนรู้ว่าหนังสือที่เรียนจบชั้นหนึ่งก็ต้องแยกออกมา และเตรียมสำหรับของชั้นเรียนใหม่ ถ้ามีหนังสือใหม่แล้ว ก็อาจชวนลูกดูว่าเมื่อเปิดเทอมลูกจะต้องเรียนอะไรบ้าง เพื่อให้เขาเตรียมตัวและรับรู้ว่าแต่ละวิชาจะต้องเตรียมอะไรบ้าง
เป้าหมายที่สิบ สำรวจว่าอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในเปิดเทอมใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง
ให้จดเอาไว้เลย เพราะอาจลืมได้ เป็นการสอนให้ลูกรู้จักการวางแผนด้วย เช่น สำรวจดูว่าอุปกรณ์การเรียนขาดอะไรไหม หรือเสื้อผ้าชุดนักเรียนชำรุดหรือไม่ กระดุมขาด ซิปแตกหรือเปล่า หรือรองเท้าขาด ใส่ไม่ได้หรือไม่ จากนั้นก็วางแผนว่าแล้วจะแก้ไขอย่างไร บางอย่างซ่อมได้ บางอย่างต้องซื้อใหม่ไหม
ทั้งหมดนี้เป็นทักษะชีวิตที่ไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินเสียทองในการไปเรียนที่ไหน ถ้าพ่อแม่มองเห็นและเป็นครูฝึกลูกรักของเราเองค่ะ
พยายามหาหนังสือดีๆ ที่เหมาะกับวัยของลูก และกำหนดให้เขาอ่านให้จบ จะกี่เล่มก็ตาม เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์และจินตนาการของลูก อาจกำหนดเป็นช่วงเวลาก่อนนอนวันละ 1 ชั่วโมงก็ได้ เมื่ออ่านจบแล้วก็อาจชวนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือ เพื่อกระตุ้นให้ลูกฝึกคิดวิเคราะห์ได้ด้วย ที่สำคัญอย่ากำหนดเป็นหนังสือเรียนเท่านั้นนะคะ
เป้าหมายที่หก ฝึกจัดข้าวของของตัวเองให้เข้าที่
อาจเริ่มจากจัดห้องนอน หรือมุมโปรดของตัวเองที่รกหรือมีฝุ่นเกาะเต็มไปหมด ก็ถือโอกาสชวนลูกรื้อห้องนอน ห้องนั่งเล่นหรือมุมโปรดของเขา ให้เขาได้มีส่วนร่วมในการทำความสะอาด และจัดสิ่งของให้เป็นระเบียบ เป็นการสอนให้เขาได้เรียนรู้ด้วยว่าเมื่อข้าวของเป็นระเบียบ ก็ทำให้เราสะดวกในการหาสิ่งของเครื่องใช้
เป้าหมายที่เจ็ด ออกกำลังกาย
หรือเล่นกีฬาเพิ่มเติมจากสิ่งที่ไม่ได้เรียนในชั้นเรียน พยายามให้ลูกได้รู้จักกีฬาอื่นๆ ที่นอกเหนือจากชั้นเรียน อย่างน้อยหนึ่งชนิดกีฬาก่อนเปิดเทอม และหาโอกาสพาลูกไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เป้าหมายที่แปด ชวนไปสวนสาธารณะหรือแหล่งการเรียนรู้ใกล้บ้าน
ที่เน้นว่าใกล้บ้าน เพราะต้องการชวนให้ลูกเรียนรู้ว่าแหล่งการเรียนรู้มีอยู่รอบตัว สามารถทำกิจกรรมง่ายๆ โดยมีพ่อแม่เป็นผู้ชี้แนะว่ากิจกรรมที่ทำนั้นได้อะไร
เป้าหมายที่เก้า เก็บหนังสือของชั้นปีที่แล้วที่ไม่ได้ใช้ และเตรียมสำหรับชั้นปีต่อไป
เป็นการสอนให้ลูกได้เรียนรู้ว่าหนังสือที่เรียนจบชั้นหนึ่งก็ต้องแยกออกมา และเตรียมสำหรับของชั้นเรียนใหม่ ถ้ามีหนังสือใหม่แล้ว ก็อาจชวนลูกดูว่าเมื่อเปิดเทอมลูกจะต้องเรียนอะไรบ้าง เพื่อให้เขาเตรียมตัวและรับรู้ว่าแต่ละวิชาจะต้องเตรียมอะไรบ้าง
เป้าหมายที่สิบ สำรวจว่าอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในเปิดเทอมใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง
ให้จดเอาไว้เลย เพราะอาจลืมได้ เป็นการสอนให้ลูกรู้จักการวางแผนด้วย เช่น สำรวจดูว่าอุปกรณ์การเรียนขาดอะไรไหม หรือเสื้อผ้าชุดนักเรียนชำรุดหรือไม่ กระดุมขาด ซิปแตกหรือเปล่า หรือรองเท้าขาด ใส่ไม่ได้หรือไม่ จากนั้นก็วางแผนว่าแล้วจะแก้ไขอย่างไร บางอย่างซ่อมได้ บางอย่างต้องซื้อใหม่ไหม
ทั้งหมดนี้เป็นทักษะชีวิตที่ไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินเสียทองในการไปเรียนที่ไหน ถ้าพ่อแม่มองเห็นและเป็นครูฝึกลูกรักของเราเองค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น