สะบัดพู่กันจากปลายงวง สะเทือนถึงดวงดาว
“ครูโชค” ผู้สอนช้างสะบัดพู่กัน
“ช้างวาดรูป”
ความอัศจรรย์แห่งการสร้างสรรค์งานศิลปะ ที่ต้องใช้ความผูกพันระหว่างมนุษย์กับช้าง
รวมกันจนสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่สวยงาม
“เสาร์พิเศษ” สัปดาห์นี้นำเสนอเรื่องราวของครูโชค หรือมักจะเรียกกันว่า “ครูช้าง”
ผู้สอนช้างให้สามารถสร้างสรรค์งานศิลปะบนผืนผ้าใบได้อย่างน่าอัศจรรย์

ในปี 2546 "ครูโชค" ซึ่งขณะนั้นประกอบอาชีพเป็น นักออกแบบ และศิลปินอิสระ มีโอกาสได้เจอกับผู้บริหารระดับสูงของปางช้างแม่สา ในงานแสดงผลงานศิลปะ และได้ชักชวนให้มาทำงานด้านนี้
เพราะมีมูลนิธิเกี่ยวกับช้างที่ชื่อ Asia Elephant Foundation ต้องการศิลปินเพื่อทำหน้าที่คอยดูแลสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของช้าง
และรวบรวมผลงานส่งให้กับมูลนิธิฯ "ครูโชค" จึงได้เข้าสู่วงการศิลปะของช้าง (Elephant Painting) ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ช่วงที่ได้ทำงานให้มูลนิธิฯ นั้น ก็ได้สัมผัสกับช้างอย่างลึกซึ้ง
ทุกวันจะเฝ้าดูพฤติกรรมช้าง ได้ลองผิดลองถูกร่วมกับช้าง และควาญช้าง
เพื่อจะหาวิธีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแบบใหม่ๆ จนกระทั่งหมดสัญญาการทำงานให้กับองค์กร
Asia Elephant Foundation ก็ได้มาทำงานเป็น "ครูสอนช้างวาดรูป" อย่างเต็มตัว
(ช้าง "ล้านคำ" เป็นช้างเชือกแรกที่ลงสีแรก แปรงลงลงบนผืนผ้าใบ ในการทำวาดภาพเพื่อบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ภาพวาดที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ที่มีชื่อว่า "ลมหนาว สายหมอก เสน่หา แห่งล้านนา หมายเลข 1" ในเช้าของวันที่ 19 ก.พ. ปี 2005 ณ ปางช้างแม่สา, เชียงใหม่)
ในช่วงนี้เองก็ได้สร้างผลงานที่ลงทันทึกกินเนสบุ๊ก
คือ “ภาพวาดของช้างที่แพงที่สุดในโลก” ในชื่อ “ลมหนาว สายหมอก เสน่หาแห่งล้านนา หมายเลข 1”
วาดบนผืนผ้าใบขนาดสูง
2.40 เมตร ยาว 12 เมตร ใช้ช้างศิลปินจำนวน 8 เชือก ช่วยกันวาด
และได้ถูกประมูลไปในราคา 1,500,000 บาท
(ภาพแห่งประวัติศาสตร์ จากการทำกินเนสส์เวิล์ดเร็คคอร์ด ภาพวาดของช้างที่มีราคาแพงท ี่สุดในโลก ที่มีชื่อว่า "ลมหนาว สายหมอก เสน่หาแห่งล้านนา หมายเลข 1" ณ ปางช้างแม่สา เมื่อปี 2005 แต่ได้รับการบันทึกสถิตโลกในปี 2006 จากภาพ กำลังใช้มือขวาบอกกับควาญช้างว่า "โอเค" แล้ว เป็นอันว่าภาพนี้ได้วาดเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
นิยามกว้างๆ ของ "ศิลปะ" ก็คือ "ต้องเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์โดยมนุษย์" แต่เหตุที่ "ผลงานจากช้างจัดได้ว่าเป็นงานศิลปะ
เพราะว่าผ่านกระบวนการทางด้านความคิดจากมนุษย์ก่อน ขบวนการฝึกสอนเชิงศิลปะ อีกทั้งในขณะที่วาดรูปก็เป็นการวาดรูปร่วมกับควาญช้างซึ่งเป็นพี่เลี้ยงและศิลปิน
ดังนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย นั่นก็คือ ช้าง, ควาญช้าง และศิลปิน
ดังนั้นผลงานที่ออกมาจึงจัดเป็นผลงานศิลปะอย่างหนึ่ง การจะสร้างสรรค์งานศิลปะจากช้างได้นั้น
ควาญและช้างต้องมีความเป็นหนึ่งเดียว
เพื่อถ่ายทอดผลงานให้ตรงตามที่คิดไว้มากที่สุด"
ศิลปะจากช้างนั้น นอกจากผลงานแล้วผู้คนมักจะประทับใจความน่ารักของช้างด้วย
ยิ่งถ้าเป็นช้างเชือกที่อายุยังน้อยๆ
แม้ผลงานที่ออกมาอาจไม่ตรงตามที่คิดไว้แต่ส่วนใหญ่ก็ได้ใจผู้ชม การที่จะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ดีแค่ไหนนั้น
ควาญช้างคือตัวแปรสำคัญ เพราะในขณะที่สั่งให้ช้างวาดรูปนั้นศิลปินจะเข้าไปยุ่งมากไม่ได้
ดังนั้นควาญช้างต้องสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
เพราะในขณะที่ช้างกำลังวาดรูปด้วยพู่กันอยู่นั้น
ไม่สามารถจะรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ซึ่งควาญช้างจะต้องอ่านทางของช้างให้ออก เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก
ตัวช้างเองก็ต้องฝึกฝนในเรื่องของการฟังคำสั่งและการตวัดงวงให้ได้ตามคำสั่ง
ต้องรู้ใจควาญช้างด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของสูตรที่ว่า 1+1 เท่ากับ 1 นั่นก็คือ
ควาญช้างและช้าง ต้องประสานรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ผลลัพท์ของงานที่ออกมา
ส่วนใหญ่มักจะออกมาเหนือกว่าที่คาดกันไว้
เพราะบางทีคนออกแบบก็มักจะไปคิดแทนช้างว่าทำได้แค่นั้นแค่นี้ แต่จริงๆ
แล้วช้างสามารถทำได้ดีกว่าที่คาดกันไว้เสมอ
แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีบางครั้งที่ไม่ตรงกับแบบที่ตั้งใจไว้ 100 เปอร์เซ็นต์
แต่ก็อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัวในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของควาญช้างที่จะต้องควบคุมให้ช้างสามารถวาดรูปออกมาให้สวยงาม

"ครูโชค" สั่งสมประสบการณ์ในการทำงานด้านศิลปะและออกแบบมาเป็นเวลานาน
จึงตกผลึกทางความคิดและแนวทางการเรียนการสอนศิลปะที่เป็นรูปแบบของตนเอง จึงได้ร่วมกับ
โรงเรียนสมาร์ท แอ็ท ไอที โดยเปิดเป็นโรงเรียนสอนศิลปะที่มีชื่อว่า “สมาร์ท อาร์ต” เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ทางด้านศิลปะให้กับเด็กๆ และบุคคลทั่วไปที่มีใจรักงานศิลปะ
โรงเรียนตั้งอยู่ที่ 201-205
ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่ สามารถโทรสอบถามหรือร่วมพูดคุยเรื่องราวทางศิลปะได้ที่เบอร์
053-214160, 053-214 161 และ 09 4297 9835 หรือจะแอดเป็นเพื่อนทางเฟซบุ๊กเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวอื่นๆ ของ "ครูช้าง" ที่
เฟซบุ๊กชื่อ “kruchang pongpranart”
ขอบคุณหนังสือพิมพ์ ไทยนิวส์
ขอบคุณหนังสือพิมพ์ ไทยนิวส์
บันทึกในวันทำสถิติโลก
เขียนที่ปางช้างแม่สา, อ.แม่ริม,
จ.เชียงใหม่

จนวันหนึ่งได้มีโอกาสพบกับผู้บริหารระดับสูง "ปางช้างแม่สา" จึงได้มีการชักชวนและทดลองทำงานศิลปะร่วมกับช้าง
เป็นครั้งแรกที่ผมได้สัมผัส
และพอผมเห็นช้างวาดรูปแล้ว ก็ยิ่งมีความตื่นเต้นมาก อีกทั้งความสงสัยพร้อมกับคว
ผมใช้เวลาอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวในการเรียนรู้วิถีชีวิต ,
ความเป็นอยู่ และธรรมชาติของช้าง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว
... ในเบื้องต้นยอมรับว่าต้องทำการบ้านหนักมาก เพราะสิ่งที่ผมกลังจะทำต่อไปนี้
เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยเรียนรู้มาก่อน และทฤษฎีการสอนศิลปะให้กับช้างก็ไม่ได้ถูกบรรจุเอาไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนศิลปะเสียด้วย
...
ผมฝังตัวอยู่ที่ปางช้างแม่สาอยู่เป็นปีๆ
จนกระทั้งองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้มาจากช้าง , ควาญช้าง
ได้ตกผลึกทางความคิด และกลายเป็นเทคนิคการสอน, ขั้นตอนการทำงาน
ได้ถูกถ่ายทอดไปสู่ช้าง, ควาญช้าง จนสามารถพัฒนางานศิลปะมาจนถึงปัจจุบัน ....
ช้างทุกเชือกเรียนรู้ได้เร็ว ,
น่ารัก และฉลาด ควาญช้างให้ความร่วมมือ ยอมรับในการพัฒนา
ใส่ใจและกระตือรือร้นต่อการทำงาน ... นี่คือสิ่งที่ผมสัมผัสได้ในความเป็น
"ศิลปิน" ของพวกเค้า เราเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผม , ช้าง และควาญ จึงเกิดเป็นผลงานศิลปะดีๆ ออกสู่สาธารณะชน ...
และสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่า
"การตัดสินมาทำงานศิลปะร่วมกับช้าง" ในครั้งนั้นได้ทำให้ผมได้ค้นหาความหมายดีๆ
ของชีวิตได้ในวันนี้ สิ่งหนึ่งที่ผมได้คำตอบก็คือ
"สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกใบนี้ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข หากเราใส่ใจ เรียนรู้ และเข้าใจกันและกัน"
"ครูโชค"
ครูสอนศิลปะสำหรับช้าง ประจำปางช้างแม่สา (2003-2012)
เขียนไว้เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2548
ผมฝังตัวอยู่ที่ปางช้างแม่ส
ช้างทุกเชือกเรียนรู้ได้เร็
และสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยคาดคิ
"ครูโชค"
ครูสอนศิลปะสำหรับช้าง ประจำปางช้างแม่สา (2003-2012)
เขียนไว้เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2548
ครูช้าง "เท่ห์" สุดๆ ค่ะ
ตอบลบขอบคุณมากครับแอม
ลบข้อมูลดี!! ไม่สามารถรอโพสต์ต่อไปของคุณ!
ตอบลบความคิดเห็นโดย: muhammad solehuddin
คำทักทายจากมาเลเซีย