บทความ

จรรยาบรรณของคนเป็น "ครู"

รูปภาพ
จรรยาบรรณวิชาชีพครู (Code of Ethics of Teaching Profession) ความหมาย จรรยาบรรณในวิชาชีพ หมายถึงประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพนั้นก็ได้ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้ ความสำคัญ จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่ อาชีพที่เป็น “วิชาชีพ” นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า “จรรยาบรรณ“ ส่วนลักษณะ “วิชาชีพ ” ที่สำคัญคือ เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับอุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี “จรรยาบรรณในวิชาชีพ” เพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดในจรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที

เพียงแค่ 15-30 นาทีต่อวัน อย่างต่อเนื่องลูกก็จะกลายเป็นอัจฉริยะได้

รูปภาพ
สำหรับเด็กๆ แล้วการได้สนุกกับการทำงาน "ศิลปะ" แม้ช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 15 - 30 นาที ก็สามารถทำให้เด็กได้ใช้กระบวนการทาง "ความคิดสร้างสรรค์" รวมไปถึง ฝึกฝนทักษะพื้นฐานทางด้านศิลปะ  ด้วยการ เริ่มจากการ ลากเส้นตรง เส้นโค้ง ขีด เขียนไปมา หรือระบายสีในรูปร่างง่ายๆ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม รูปทรงอิสระต่างๆ ซึ่งเด็กจะค่อยๆ มีการปรับการใช้มือ การจับดินสอ ด้วยด้วยตนเอง รวมถึงการรับรู้ และสมาธิ  พร้อมทั้งได้ออกกำลังกล้ามเนื้อมัดเล็ก ข้อมือ การจัดระเบียบของร่างกาย สมาธิ ซึ่งเหมาะกับเด็กๆ ช่วงอายุ 3 ปีขึ้นไป ครูช้าง @ 2015

"ศิลปะ" ที่เป็นมากกว่า "ภาพเขียน"

รูปภาพ
"ศิลปะ" ที่เป็นมากกว่า "ภาพเขียน" หลายๆ คนจะคิดว่า "ศิลปะ" นั้นเป็นการวาดภาพสวยๆ การปลดปล่อยจินตนาการ ระบายสีสันลงไปในกระดาษอย่างสวยงาม หรือเป็นการฝึกสมาธิ และทำให้จิตใจสงบ อารมณ์เบิกบาน "ศิลปะ" เป็นได้มากกว่านั้น เพราะสามารถนำมาใช้ในการบำบัดรักษาอาการของโรคต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งเราเรียกว่า "ศิลปะบำบัด" หรือ Art Therapy "ศิลปะบำบัด" (Art Therapy) คือ การใช้กิจกรรมทางศิลปะในหลายรูปแบบทั้งการวาด การปั้น การทำผ้าบาติก การทำเปเปอร์มาร์เช่ ฯลฯ เพื่อวินิจฉัยหาข้อบกพร่อง ความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิตใจ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นคำพูด หรือมีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งงานศิลปะจะช่วยให้บุคคลเหล่านี้ได้แสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดที่เก็บกดเอาไว้ นอกจากนั้นงานศิลปะยังนำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์คนไข้ได้ด้วย โดยจะวิเคราะห์อาการจากผลงานหรือการแสดงออกทางผลงานศิลปะ  "ศิลปะบำบัด" ความสำคัญจะอยู่ที่ "ในระหว่างการทำงานศิลปะ เราต้องไม่สนใจว่าผลงานจะออกมาอย่างไร สวยหรือไม่

เริ่มต้นการ "วาดรูป" จากการ "เลียนแบบ"

รูปภาพ
เริ่มต้นการ "วาดรูป" จากการ "เลียนแบบ" การ "เลียนแบบ" ในการวาดรูปอย่างมี "สติ" จะช่วยทำให้เราเรียนรู้และเริ่มต้นการวาดภาพอย่างมีความสุข ซึ่งสามารถเลียนแบบได้ทั้งภาพที่วาดมาแล้ว, หุ่นนิ่ง หรือธรรมชาติรอบๆ ตัว เทคนิคของการวาดภาพ "เลียนแบบ"นั้น เราต้องทำการเรียนรู้ ศึกษา และเข้าใจต้นแบบนั้นๆ อยู่เสมอ จนเมื่อเกิดการเรียนรู้ และฝึกฝนจนมีความชำนาญมากขึ้น ต่อไปก็จะสามารถวาดภาพโดยแทบไม่ต้องมีแบบเลย และหากอยากจะเก่งมากยิ่งขึ้นก็ต้องทำการฝึกฝนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รูปแรกอาจจะยังไม่สวย แต่รูปที่ 10,000 ต้องสวยแน่นอนครับ "ครูช้าง" @ 2015